top of page

Remote Emergency Rescue คืออะไร?

Remote Emergency Rescue คืออะไร?

เพราะทุกวินาทีย่อมมีค่าและเป็นตัวชี้วัดการมีชีวิตรอดของผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะฉุกเฉิน แล้วจะดีแค่ไหนถ้าแพทย์สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้แม้ไม่ได้อยู่บนรถพยาบาลด้วย วันนี้ MEDcury จะพาไปดู “Remote Emergency Rescue” เทคโนโลยีทางการแพทย์สุดล้ำที่เปรียบเสมือนอีกหนึ่งเครื่องมือช่วยชีวิตในช่วงเวลาวิกฤต


Remote Emergency Rescue คืออะไร?

Remote Emergency Rescue คือ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ผสมผสานกันเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินจากทางไกล โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ในการเชื่อมเจ้าหน้าที่กู้ชีพประจำรถฉุกเฉินให้สามาถรับคำแนะนำในการช่วยเหลือผู้ป่วยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ ณ โรงพยาบาลได้แบบ Real-Time


การทำงานของ Remote Emergency Rescue

MEDcury ขอยกตัวอย่างสถานการณ์นี้เพื่อให้คุณเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่กู้ชีพประจำรถฉุกเฉินจะปฐมพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยเบื้องต้น ระหว่างนี้เจ้าหน้าที่กู้ชีพก็สามารถพูดคุยกับแพทย์ที่ประจำอยู่ที่โรงพยาบาลในรูปแบบ Video Conference ผ่านแพลตฟอร์มกลางได้เลย โดยที่แพทย์ที่ประจำอยู่ ณ โรงพยาบาลนี้จะสามารถเห็นสถานการณ์ในรถฉุกเฉินได้แบบ 360 องศาไปพร้อม ๆ กันด้วย เพราะบนรถฉุกเฉินนี้มีการติดตั้งกล้องความละเอียดสูงอยู่ด้วยนั่นเอง


นอกจากนี้เจ้าหน้าที่กู้ชีพยังสามารถสวมแว่นตา VR และถุงมือ VR เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยได้แบบเสมือนจริง ทำให้แพทย์สามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่เจ้าหน้าที่กู้ชีพได้ รวมถึงแพทย์สามารถให้เจ้าหน้าที่กู้ชีพทำการตรวจวัดและเก็บข้อมูลทางการแพทย์บางส่วนแบบล่วงหน้าเอาไว้ได้เลย เช่น การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การอัลตราซาวด์ เป็นต้น


และข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปยังแพลตฟอร์มกลางดังกล่าว แพทย์จึงสามารถเตรียมพร้อมเพื่อการรักษาที่ตรงจุดได้ เมื่อเคสฉุกเฉินมาถึงโรงพยาบาล แพทย์ที่มีข้อมูลครบมืออยู่แล้ว ก็สามารถเริ่มทำการรักษาได้ทันที

ทั้งหมดนี้เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวของเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่กู้ชีพสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ


ประโยชน์ของ Remote Emergency Rescue

ผลลัพธ์ปลายทางของ Remote Emergency Rescue นั้นก็เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ทันท่วงที และเพิ่มผลลัพธ์ในการรักษาในเชิงบวก นอกจากประโยชน์ต่อผู้ป่วยแล้ว Remote Emergency Rescue ยังมีประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่กู้ชีพและแพทย์อีกด้วย โดยช่วยเพิ่มความมั่นใจในการปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นให้แก่เจ้าหน้าที่กู้ชีพ เพราะมีคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ


รวมถึงช่วยลดความเครียดของแพทย์ เพราะมีการเก็บข้อมูลทางการแพทย์บางส่วนไว้ล่วงหน้าแล้ว และมีโอกาสเตรียมพร้อมก่อนผู้ป่วยจะมาถึงที่โรงพยาบาลนั่นเอง



สถานการณ์การใช้ Remote Emergency Rescue

ในบางประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศจีน เป็นต้น ได้มีการใช้ Remote Emergency Rescue แบบเต็มรูปแบบดังที่ได้อธิบายไปกันแล้ว สำหรับประเทศไทยเองก็มีการใช้ Remote Emergency Rescue เช่นกัน แต่ยังไม่ถึงขั้นเต็มรูปแบบดังที่ประเทศอังกฤษและประเทศจีนทำ


โดย Remote Emergency Rescue ในประเทศไทยจะยังเป็นเพียงการสื่อสารระหว่างแพทย์และเจ้าหน้าที่กู้ชีพผ่าน Video Conference แบบ Real-Time การติดตามสถานการณ์ภายในรถฉุกเฉินผ่านกล้องที่ถูกติดตั้งบนรถ และการส่งต่อข้อมูลสุขภาพขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ชีพจร ความดันโลหิต ระดับออกซิเจนในเลือด และคลื่นหัวใจ


ถึงแม้ในประเทศไทยจะยังไม่ได้ใช้ Remote Emergency Rescue แบบเต็มรูปแบบ แต่ก็มีการยืนยันจากโรงพยาบาลหลายแห่งว่าระบบนี้สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยระหว่างการนำส่งโรงพยาบาลได้จริง



ความท้าทายในการใช้ Remote Emergency Rescue ในประเทศไทย

สัญญาณการสื่อสารที่ไม่ครอบคลุมยังถือว่าเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางความสามารถของ Remote Emergency Rescue อยู่ นี่จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของประเทศไทยที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันเพื่อขยายพื้นที่ให้บริการคลื่นโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่กู้ชีพสามารถติดต่อสื่อสารกับแพทย์ที่โรงพยาบาลได้ในทุกการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินจากทุกพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเทคโนโลยีนี้ มีประโยชน์สุด ๆ เลยใช่ไหมล่ะ สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่


  • โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)

  • อีเมล : sales@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มคลิกที่นี่


ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น



อ้างอิงข้อมูลจาก


bottom of page