top of page

Search Results

พบ 38 รายการสำหรับ ""

  • มัดรวม 10 คำย่อในระบบ HIS ไว้ที่เดี่ยว [EP.1]

    ในแต่ละวงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปฎิเสธไม่ได้เลยว่ามักจะมี คำศัพท์เฉพาะทาง (Technical Words) หรือคำย่อ ( Acronyms ) ที่มักโผล่ในข่าวสารที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมนั้น ๆ จนบางครั้งก็เดากันไม่ออกและเกิดความสงสัยว่าคำศัพท์หรือคำย่อที่เหล่านี้มีความหมาย บริบท หรือวิธีการใช้งานที่เหมือนหรือต่างกันกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อย่างไร ซีรีส์ HealthTech 101 จาก MEDcury จะพูดถึงคำศัพท์เฉพาะทางหรือคำย่อต่าง ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์และเทคโนโลยีด้านการแพทย์ (Health Tech) ที่ใช้ในการสื่อสารทั้งภายในองค์กรและสู่สาธารณะ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่เริ่มสนใจและอยากทำความรู้จักในเบื้องต้น ที่จะช่วยให้เข้าใจวงการดังกล่าวมากยิ่งขึ้นนั่นเอง  สำหรับ EP.1 จึงขอเริ่มต้นด้วยคำย่อในหมวดของ ‘ระบบ HIS’ ที่มีคำย่อซ่อนอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น EMR, EHR, RBAC และอื่น ๆ แต่คำเหล่านี้จะมีความหมายว่าอะไร หรือมีหน้าที่อะไรในระบบ HIS ไปดูกันเลย 10 คำย่อพร้อมความหมาย : ในหมวดระบบ HIS HIS (อ่านว่า เอช-ไอ-เอส) ย่อมาจากคำว่า Hospital Information System คือระบบสารสนเทศโรงพยาบาลหรือระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาลที่ใช้ในสถานพยาบาลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล หรือคลินิก (OPD Clinics) ที่ครอบคลุมการจัดการข้อมูลในทุกด้านหรือทุกแผนกของสถานพยาบาล ตั้งแต่การลงทะเบียนผู้ป่วย การรักษา การตรวจวินิจฉัย การจ่ายยา การจัดการคลังยา การจัดการทรัพยากรโรงพยาบาล ฯลฯ โดยสถานพยาบาลที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบสารสนเทศที่ดี ความพร้อมของบุคลากร และทรัพยากรภายในโรงพยาบาลที่ตอบโจทย์การนำระบบสารสนเทศมาปรับใช้ ฯลฯ ต่างเป็นปัจจัยสำคัญในการวัดมาตรฐานของระบบสารสนเทศภายในสถานพยาบาลให้สามารถเทียบเท่ามาตรฐานสากลได้ ยกตัวอย่างเช่น มาตรฐานการรับรองระบบสารสนเทศ HIMSS Analytics EMRAM และอื่น ๆ เป็นต้น HIE (อ่านว่า เอช-ไอ-อี) ย่อมาจากคำว่า Hospital Information Exchange คือระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาลที่สามารถเชื่อมต่อระบบ HIS ของแต่ละสถานพยาบาลภายใต้การใช้มาตรฐานสากลในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเดียวกันอย่าง HL7 (Health Level Seven) โดยประโยชน์สูงสุดของการใช้ระบบ HIE คือความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น การลดภาระของผู้ป่วยในการขอสำเนาประวัติการรักษา การติดตามประวัติการรักษาเพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยและการรักษาได้อย่างทันท่วงที ฯลฯ ความท้าทายของระบบ HIE นั้นคงหนีไม่พ้นความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยถือเป็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและเกี่ยวข้องกับกฎหมาย เช่น PDPA ทำให้ระบบ HIE มีข้อกำหนดและมาตรฐานด้านความปลอดภัย เช่น การเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) และการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึง (Role-Based Access Control) และระบบการสำรองข้อมูลที่เลือกใช้ เพื่อทำให้มั่นใจว่าข้อมูลของผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงและพร้อมใช้งานได้ทันที แต่ละสถานพยาบาลในประเทศไทยต่างมีมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่แตกต่างกันไป แต่ถือเป็นเรื่องที่เป็นไปได้และมีตัวอย่างให้เห็น ยกตัวอย่าง เครือพริ้นซ์ซิเพิล เฮลท์แคร์  ที่มีโรงพยาบาลในเครือมากกว่า 13 แห่ง ต่างใช้ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบเดียวกัน ในการเพิ่มโอกาสของผู้ป่วยในการเข้าถึงระบบสุขภาพได้เร็วยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องขอสำเนาประวัติการรักษานั่นเอง RBAC (อ่านว่า อาร์-บี-เอ-ซี) ย่อมาจากคำว่า Role-Based Access Control คือการควบคุมการเข้าถึงหรือการจัดการสิทธิ์การเข้าใช้งานของบุคลากรในสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ลงทะเบียน เภสัชกร ฯลฯ เพื่่อควบคุมแต่ละตำแหน่งงานในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลการรักษา หรือทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบที่เกี่ยวข้องตามบทบาท (Role) ที่ได้รับมอบหมาย การรักษาความปลอดภัยของระบบและข้อมูลผ่านการใช้งาน RBAC นั้นถูกนำไปใช้งานในหลายอุตสาหกรรม เช่น ระบบ POS ร้านค้า รวมไปถึงระบบโรงพยาบาลหรือคลินิกต่าง ๆ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเข้าถึงข้อมูล การแก้ไขข้อมูล หรือการคัดลอกข้อมูลที่ละเอียดอ่อนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งไม่เพียงแต่คำนึงถึงผู้รับบริการเท่านั้น แต่ข้อดีในฐานะผู้ใช้งานคือการช่วยลดความซับซ้อนและความผิดพลาดในการทำงาน โดยการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการทำงานแค่ในตำแหน่งของตนเอง CDSS (อ่านว่า ซี-ดี-เอส-เอส) ย่อมาจากคำว่า Clinical Decision Support System คือระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและให้คำแนะนำของแพทย์ ช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจในการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ถือเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยตัดสินใจ ไม่ใช่ระบบที่เข้ามาทดแทนหรือ Disrupt วงการแพทย์ได้อย่างสมบูรณ์ซะทีเดียว  ระบบ CDSS สนับสนุนการทำงานของแพทย์โดยอาศัยข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยที่ถูกบันทึกในระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR) ในการวิเคราะห์และช่วยวินิจฉัย เช่น 4.1. การสั่งยาของแพทย์ :  ระบบ CDSS สามารถตรวจสอบปฏิกิริยาของยา และแจ้งเตือนในระบบเมื่อพบความผิดปกติในการสั่งยา เช่น การแพ้ยา การให้ยาซ้ำ ขนาดยาที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย ฯลฯ 4.2. การวินิจฉัยโรคและการรักษา : ระบบ CDSS สามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคจากอาการของผู้ป่วย และผลตรวจต่าง ๆ ได้ทันทีในขณะที่กำลังดูแลผู้ป่วย และสามารถแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมตามแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ หากเปรียบเทียบระหว่างระบบ CDSS กับการขอความคิดเห็นที่สองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (Second Opinion) นั้น คงไม่สามารถทดแทนกันได้แต่สามารถทำงานร่วมกันได้ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมั่นใจในแนวทางการรักษาของแพทย์และมาตรฐานของโรงพยาบาล 4.3. การแนะนำและการติดตามผลการรักษา : ระบบ CDSS สามารถเปรียบเทียบประวัติการรักษาของผู้ป่วย รวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังการรักษา เพื่อให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยแบบรายบุคคล เช่น การฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัด การควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือการเลือกยาเคมีบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เป็นต้น  CPOE (อ่านว่า ซี-พี-โอ-อี) ย่อมาจากคำว่า Computerized Physician Order Entry คือระบบสั่งการแพทย์ผ่านทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ และใช้งานผ่านระบบโรงพยาบาลที่รองระบระบบเวชระเบียนนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR) นั่นเอง ซึ่งจุดเด่นของระบบ CPOE คือการเข้ามาเพื่อทดแทนการเขียนใบสั่งการรักษาหรือใบสั่งยาด้วยลายมือให้ได้มากที่สุด หากพูดถึงประเด็นทางสังคมที่ถูกพูดถึงและถกเถียงกันเกี่ยวกับ ‘ลายมือแพทย์’ หลาย ๆ คนคงจะเห็นภาพมากขึ้นว่าการเขียนนั้นอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์เกิดขึ้นง่ายไม่น้อย แพทย์จะเข้าสู่ระบบ CPOE เพื่อทำการสั่งการรักษาผ่านระบบ ไม่ว่าจะเป็น การสั่งยา การส่งตรวจเพิ่มเติม โดยระบบจะแสดงรายการยาหรือรายการตรวจที่สามารถสั่งได้ให้กับแพทย์ โดยระบบนี้สามารถทำงานร่วมระบบ CDSS อย่างไร้รอยต่อในการตรวจสอบความถูกต้องและการแจ้งเตือนปฏิกิริยาของยาได้ด้วยเช่นกัน จุดประสงค์ของการสั่งการแพทย์ในระบบนั้น ก็เพื่อให้ข้อมูลถูกบันทึกไว้ในระบบดิจิทัลและเชื่อมโยงกับระบบของแผนกอื่น  ๆ ภายในโรงพยาบาลให้สามารถติดตามสถานะได้และดำเนินงานอย่างมีระบบ เพื่อส่งคำสั่งไปยังแผนกที่เกี่ยวข้องที่จะเพิ่มความรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น อย่างเช่น ห้องจ่ายยา หรือห้องตรวจเพิ่มเติมนั่นเอง MA (อ่านว่า เอ็ม-เอ) ย่อมาจากคำว่า Maintenance Service Agreement คือสัญญาการบริการบำรุงรักษาระหว่างผู้ให้บริการและสถานพยาบาล ยกตัวอย่างผู้ให้บริการ เช่น บริษัทผู้ให้บริการในการติดตั้งระบบซอฟต์แวร์ ที่จะต้องมีสัญญาที่กำหนดขอบเขตในการให้บริการและเงื่อนไขในการดูแลรักษาระบบซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งให้กับสถานพยาบาลแต่ละที่ เช่น การฝึกอบรม การสนับสนุนทางเทคนิค การอัปเดตซอฟต์แวร์ และการแก้ไขปัญหา เป็นต้น ในปัจจุบัน MA หรือ Maintenance Service Agreement กลายเป็นจุดแข่งขันที่สำคัญสำหรับบริษัทจำหน่ายระบบซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์ ทำให้ MA ไม่เพียงแต่เป็นสัญญาที่ระบุขอบเขตของการทำงานเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดแข็งในการสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น บุคลากรฝึกอบรมที่มีความเชี่ยวชาญ ระบบแจ้งซ่อมออนไลน์ที่ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง การแก้ไขและอัปเดตซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็ว ฯลฯ เพื่อสร้างความมั่นใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในระยะยาว EMR (อ่านว่า อี-เอ็ม-อาร์) ย่อมาจากคำว่า Electronic Medical Record คือระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถบันทึกข้อมูลผู้ป่วยผ่านระบบดิจิทัลและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ฯลฯ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อทดแทนการใช้กระดาษในการจดบันทึก และการจัดเก็บเอกสารแบบเดิม ๆ ระบบ EMR มักเชื่อมต่อเข้ากับระบบ HIS เพื่อทำงานร่วมกัน โดยระบบ EMR จะถูกเชื่อมต่อข้อมูลในแต่ละแผนก เช่น แผนกลงทะเบียนผู้ป่วย แผนกห้องตรวจหรือห้องปฏิบัติการ แผนกจ่ายยา แผนกชำระเงิน ฯลฯ เพื่อให้สามารถติดตามและอัปเดตข้อมูลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง และประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลผู้ป่วย เพื่อประโยชน์ของการรักษาและความพึงพอใจของผู้ป่วยด้วยนั่นเอง การนำระบบ EMR มาปรับใช้นั้นยังช่วยลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลหรือ Human Error ให้ลดลง พร้อมด้วยระบบการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลและการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงตามบทบาท (RBAC) หรือระบบ CDSS ป้องกันการจ่ายยาซ้ำหรือการแพ้ยา เป็นต้น EHR (อ่านว่า อี-เอช-อาร์) ย่อมาจากคำว่า Electronic Health Record คือระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่ครอบคลุมข้อมูลสุขภาพจากประวัติการรักษาของผู้ป่วยทั้งหมด และสามารถส่งต่อข้อมูลด้านสุขภาพต่าง ๆ ให้กับผู้ให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาที่ต่อเนื่องและครอบคลุมมากขึ้นได้ แตกต่างจากระบบ EMR ที่จะครอบคลุมเพียงข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลเดียวเท่านั้น ระบบ EHR มีการบันทึกข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกันกับระบบ EMR ไม่ว่าจะเป็น ประวัติการรักษา ผลการตรวจ ประวัติการแพ้ยา ประวัติการฉีดวัคซีน หรือข้อมูลสุขภาพอื่น ๆ โดยมีจุดเด่นในการส่งต่อข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยให้กับสถานพยาบาลอื่น ๆ ได้ เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนในการตรวจ และเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย ภายใต้ความปลอดภัยในการเก็บและส่งต่อข้อมูลด้วยเช่นกัน PACS (อ่านว่า แพคส์) ย่อมาจากคำว่า Picture Archiving and Communication System คือระบบการเก็บภาพและการสื่อสารภาพถ่ายทางการแพทย์ ที่ออกแบบระบบมาเพื่อทำการจัดเก็บภาพทางการแพทย์ต่าง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล สามารถทำงานร่วมกับระบบ EMR ในการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยให้อยู่ภายในระบบเดียวกัน เช่น ภาพเอกซเรย์ (X-Ray), MRI หรือ CT Scan เพื่อช่วยลดต้นทุนและพื้้นที่การจัดเก็บข้อมูล และเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ ระบบ PACS สามารถลดความเสี่ยงของการสูญหายของข้อมูลและมีความปลอดภัยสูงกว่าการจัดเก็บข้อมูลด้วยฟิล์ม ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแผนกรังสีวิทยาและต้นทุนได้เป็นอย่างดี  API (อ่านว่า เอ-พี-ไอ) ย่อมาจากคำว่า Application Programming Interface คืออินเตอร์เฟซโปรแกรมสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ที่เปรียบเสมือน ‘ประตู’ ที่เชื่อมต่อระหว่างระบบหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยและการให้บริการทางการแพทย์ให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อระบบ HIS กับระบบ EMR  เพื่อสามารถเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ป่วยในแต่ละแผนกได้อย่างต่อเนื่อง หรือ การเชื่อมต่อระบบ EMR กับเครื่องวัดสัญญาณชีพ (Vital Sign Monitor)  ที่สามารถทำการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ทดแทนการลงบันทึกด้วยลายมือหรือเสียเวลาลงบันทึกในระบบที่ซ้ำซ้อน เป็นต้น เป็นอย่างไรบ้าง ? กับ 10 คำย่อที่มัดรวมมาไว้ให้ในหมวดระบบ HIS หวังว่าจะช่วยให้หลาย ๆ คนเข้าใจการทำงานของระบบ HIS และฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในระบบสารสนเทศโรงพยาบาลได้ไม่มากก็น้อย ใน EP ถัดไป เมดคิวรีในซีรีส์ HealthTech 101 จะมาพร้อมกับหมวดอะไร อย่าลืมติดตามกันด้วยนะ ท่านใดที่สนใจปรึกษาระบบ MEDHIS และ MEDHIS Lite สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่ โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์) อีเมล : sales@medcury.health  หรือกรอกแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น Facebook : facebook.com/medcury.health/ LinkedIn : linkedin.com/company/medcury YouTube : https://www.youtube.com/@MEDcury

  • 8 คำที่คุณต้องรู้ ถ้าอยากเข้าใจระบบ HIS ให้มากขึ้น [EP.2]

    หัวใจสำคัญของระบบ HIS นอกเหนือจากการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้กับธุรกิจสถานพยาบาลและลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์แล้ว เรื่องของการรับรอง มาตรฐานและความปลอดภัยของระบบก็เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญของการนำไปใช้งานในสถานพยาบาลต่าง ๆ เพื่อให้กับผู้ให้บริการสามารถมอบบริการที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการได้ EP.1 ของซีรีส์ HealthTech 101 ได้พูดถึงคำย่อเบื้องต้นที่ใช้บ่อยในระบบ HIS ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น HIS, EMR, RBAC ฯลฯ สามารถอ่านบทความต่อได้ที่ มัดรวม 10 คำย่อในระบบ HIS ไว้ที่เดี่ยว [EP.1] ใน EP.2 เรายังคงอยู่กับคำย่อ (Acronyms) ที่เจาะลึกเกี่ยวกับมาตรฐาน การรับรองคุณภาพต่าง ๆ ภายในระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ที่รู้ไว้ใช่ว่า…เมื่อเจอคำเหล่านี้ในภายหลังจะช่วยให้คุณเข้าใจระบบ HIS แบบไม่มีโป๊ะแน่นอน  8 คำย่อในระบบ HIS พร้อมความหมาย HL7 (อ่านว่า เอช-แอล-เซเว่น) ย่อมาจากคำว่า Health Level 7 / Health Level Seven HL7 คือชุดมาตรฐานสากลที่ถูกพัฒนาโดย HL7 International ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างระบบสารสนเทศต่าง ๆ ในสถานพยาบาล เปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย HL7 คือ ‘ภาษา’ หนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสาร เพียงแต่ไม่ได้ใช้สื่อสารระหว่างมนุษย์ หากเป็นระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อให้รูปแบบข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลเป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน  หากมองการใช้งานภายในสถานพยาบาลเพียงแห่งเดียวอาจไม่เห็นบทบาทที่สำคัญของการใช้ HL7 เท่าไหร่ แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์สูงสุดของการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาล จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่าการมีมาตรฐานอย่าง HL7 ช่วยให้ข้อมูลผู้ป่วยถูกส่งต่อได้ง่ายดายกว่ารูปแบบเดิม และสามารถสร้างความพึงพอใจในการใช้บริการของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยยะสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การลดภาระในการขอประวัติการรักษา การลดความซ้ำซ้อนในการการลงทะเบียนผู้ป่วยในสถานพยาบาลแห่งใหม่ เป็นต้น สถานพยาบาลที่มีการนำชุดมาตรฐาน HL7 มาปรับใช้ จะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย อาทิ ข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจวินิจฉัย ฯลฯ ระหว่างสถานพยาบาลที่ใช้มาตรฐานเดียวกันผ่านระบบสารสนเทศได้  เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาของเทคโนโลยีด้านการแพทย์ (Health Tech) และด้วยจุดเด่นของ HL7 ที่รองรับการพัฒนาและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอยู่เสมอ เราจึงจะเห็น HL7 ในหลาย ๆ เวอร์ชันผ่านตาอยู่บ้าง อาทิ HL7 v2, HL7 v3, HL7 FHIR ฯลฯ HL7 FHIR คืออะไร ? HL7 FHIR หรือ Fast Healthcare Interoperability Resources คือมาตรฐานที่พัฒนาต่อยอดมาจาก HL7 ที่ถูกนำมาใช้และได้รับความนิยมมากขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ด้วยจุดเด่นที่ตอบโจทย์ระบบสารสนเทศในยุคปัจจุบัน และมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพของการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นจากเดิม  Health Link คือระบบเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาลที่ใช้มาตรฐานข้อมูลระดับสากลอย่าง HL7 FHIR เกิดจากความร่วมมือของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงสาธารณสุขไทย เพื่อผลักดันการใช้งานระบบเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาล หรือรู้จักกันในชื่อระบบ HIE (Health Information Exchange) ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ปัจจุบันมีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมระบบ Health Link ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมากกว่า 400 แห่ง  (ขอบคุณข้อมูลจาก https://healthlink.go.th/ ) DICOM (อ่านว่า ได-คอม) ย่อมาจากคำว่า Digital Imaging and Communications in Medicine DICOM คือมาตรฐานสากลที่ใช้ในการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลประเภทผลภาพทางการแพทย์ (Medical Images) ที่ได้จากเครื่องมือทางการแพทย์ในรูปแบบดิจิทัลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพเอกซเรย์ (X-ray) ภาพซีทีสแกน (CT Scan) เอ็มอาร์ไอ (MRI) หรือภาพอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ฯลฯ  อย่างที่รู้กันดีว่าส่วนใหญ่แล้วเครื่องมือแพทย์ในสถานพยาบาลต่าง ๆ มาจากผู้ผลิตและประเทศต้นทางที่แตกต่างกันออกไป เพื่อลดข้อจำกัดของการใช้งานต่าง ๆ จากเครื่องมือแพทย์เหล่านี้ มาตรฐาน DICOM จึงเหมือนภาษาสากลเพื่อให้ผลภาพทางการแพทย์จากเครื่องมือแพทย์ที่ต่างกันนั้นสามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้  ประโยชน์ของการใช้มาตรฐาน DICOM ที่เข้ามาช่วยลดข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็น ความแตกต่างของเครื่องมือแพทย์แต่ละชนิด ความแตกต่างของระบบหรือซอฟต์แวร์ของสถานพยาบาล เช่น ระบบ HIS พื้นที่และรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลภาพทางการแพทย์ ระยะเวลาของการวินิจฉัยและการรักษา การส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล การนำมาตรฐาน DICOM มาปรับใช้ภายในระบบสารสนเทศของสถานพยาบาล จะมีการกำหนดรูปแบบการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาพให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ในการส่งต่อผลภาพทางการแพทย์ระหว่างแผนกภายในสถานพยาบาลเพื่อประโยชน์ของการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาพทางการแพทย์ระหว่างสถานพยาบาลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น DICOM กับ PACS ทำงานร่วมกันอย่างไร ? ในบทความที่แล้ว เราได้พูดถึงความหมายของคำว่า PACS (Picture Archiving and Communication System) หรือระบบที่ใช้ในการเก็บภาพและการสื่อสารภาพถ่ายทางการแพทย์ในรูปแบบดิจิทัล อ่านบทความต่อได้ที่ PACS ย่อมาจากอะไร และมีความหมายอย่างไร ? PACS เปรียบได้เหมือนตู้เก็บเอกสารที่ใช้จัดเก็บข้อมูลภาพทางการแพทย์ต่าง ๆ ให้บุคลากรทางแพทย์สามารถเปิดดูหรือนำข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้ง่ายขึ้นภายใต้ความปลอดภัยของฐานข้อมูลผู้ป่วย โดยมี DICOM เปรียบเสมือนแฟ้มเอกสารที่กำหนดรูปแบบการจัดเก็บ และการแสดงผลภาพทางการแพทย์จากเครื่องมือทางการแพทย์ต่าง ๆ ตามมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ ในระบบสารสนเทศของสถานพยาบาล PACS และ DICOM จึงมีความสำคัญไม่แพ้กัน และจำเป็นต้องอาศัยจุดเด่นของแต่ละตัวเพื่อให้ข้อมูลภาพทางการแพทย์จากเครื่องมือต่าง ๆ สามารถนำไปใช้งานร่วมกันภายในสถานพยาบาลและระหว่างสถานพยาบาลได้อย่างราบรื่นนั่นเอง ISMS (อ่านว่า ไอ-เอส-เอ็ม-เอส) ย่อมาจากคำว่า Information Security Management System ISMS คือระบบบริหารจัดการความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลสุขภาพ ที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ของข้อมูลภายในสถานพยาบาล และทำให้สถานพยาบาลมั่นใจว่าข้อมูลจะถูกรักษาภายใต้ความปลอดภัยและการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วยในวงการสุขภาพและวิชาชีพแพทย์นั้นมีความละเอียดอ่อนและเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ป่วย รวมทั้งความมั่นคงและชื่อเสียงขององค์กร ทำให้บทบาทของระบบ ISMS ภายในสถานพยาบาลจึงมีความสำคัญเพื่อช่วยให้ข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ได้รับการปกป้องจากการเข้าถึงและการเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งการสูญหายของข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ ฯลฯ นอกจากนี้ การนำระบบ ISMS มาปรับใช้ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็ตามนั้น จำเป็นต้องดำเนินตามระเบียบให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 27001 เพื่อให้ระบบ ISMS สามารถจัดตั้ง บำรุงรักษา และปรับปรุงบริหารจัดการความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง ISMS และมาตรฐาน ISO 27001 เชื่อมโยงกันอย่างไร ? ให้เข้าใจง่าย ๆ ระบบ ISMS คือระบบบริหารจัดการหนึ่งที่มี ISO 2700 กำหนดมาตรฐานของระบบ ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพากันและกันเพื่อให้ระบบการจัดการความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลสุขภาพเป็นไปได้อย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองระบบ ISMS ตามมาตรฐาน ISO 27001 จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ว่าภายในสถานพยาบาลมีการปกป้องข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างรัดกุม และข้อมูลมีความพร้อมสำหรับการนำไปใช้งานได้ในทันที รวมทั้งสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสุขภาพหรือกฎหมายด้านข้อมูลส่วนบุคคลอย่าง PDPA ที่ถูกให้ความสำคัญในประเทศไทย เพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการรักษา ผลการตรวจวินิจฉัย ภายใต้การยินยอมในการเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยตามสิทธิของแต่ละบุคคล ICD (อ่านว่า ไอ-ซี-ดี) ย่อมาจากคำว่า International Classification of Diseases ICD หรือบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศที่เป็นมาตรฐานสากลในการกำหนดรหัสเฉพาะให้กับแต่ละโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สถานพยาบาลทั่วโลกสามารถบันทึกข้อมูลสุขภาพ เพื่อใช้สื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทันเหตุการณ์และมีประสิทธิภาพภายใต้การใช้มาตรฐาน ICD ร่วมกัน รหัส ICD ที่นิยมใช้ภายในสถานพยาบาลและอาจจะคุ้นตากันอยู่บ้างในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น รหัส ICD-9, ICD-10 หรือ ICD-11 ที่จะมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการแพทย์ในด้านต่าง ๆ โดยรหัสดังกล่าวจะถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการบันทึกข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยในระบบ ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศโรงพยาบาลหรือที่รู้จักกันในระบบ HIS นอกจากนี้ภายในสถานพยาบาลยังใช้รหัส ICD เพื่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น บริษัทประกันสุขภาพ เพื่อให้การสื่อสารและการเรียกเก็บค่าบริการเป็นไปอย่างถูกต้องตามโรคหรืออาการที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษานั่นเอง จุดเด่นของรหัส ICD คือการบันทึกข้อมูลให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถสื่อสารระหว่างกันได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน สถานพยาบาลที่มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพโดยใช้มาตรฐาน ICD จะช่วยให้การเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพ สามารถนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ และวิจัยทางการแพทย์ร่วมกันได้ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาลที่จะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยเมื่อต้องย้ายโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน EMRAM (อ่านว่า เอ็ม-แรม) ย่อมาจากคำว่า Electronic Medical Record Adoption Model คือมาตรฐานการประเมินระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือนิยมเรียกกันว่ามาตรฐาน EMRAM ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เกิดจากองค์กรไม่แสวงผลกำไร HIMSS Analytics เพื่อประเมินระดับความก้าวหน้าของระบบ EMR (Electronic Medical Record) ในการนำมาใช้ภายในสถานพยาบาล โดยมีการแบ่งตั้งแต่ระดับ 0 ไปจนถึงระดับ 7 ที่เป็นระดับสูงสุดหรือรู้จักกันในชื่อมาตรฐาน EMRAM Stage 7 นั่นเอง EMRAM ถือเป็นแนวทางในการพัฒนาความพร้อมของระบบ EMR ให้กับสถานพยาบาลได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในยุคที่การแข่งขันของธุรกิจสถานพยาบาลมุ่งเน้นการดำเนินงานสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบและยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ให้ทันสมัยในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการทางการแพทย์หรือการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ก็ตาม ระดับ (Stage) ของมาตรฐาน EMRAM ทั้งหมด 8 ระดับถูกออกแบบมาเพื่อประเมินระดับความพร้อมของระบบ EMR ภายในสถานพยาบาล โดยแต่ละสถานพยาบาลมีเป้าหมายสูงสุดในการได้รับมาตรฐานในระดับ 7 ที่แสดงถึงความพร้อมของการใช้ EMR ในระดับสูงสุดและได้ยอมรับในระดับสากล โดยบ่งบอกถึงความพร้อม เช่น การเป็นโรงพยาบาลไร้กระดาษ (Paperless Hospital) ในทุก ๆ ขั้นตอนของการให้บริการ เป็นต้น มาตรฐาน EMRAM จึงถือเป็นเป้าหมายของสถานพยาบาลต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเชื่อมั่นให้กับทั้งผู้ใช้บริการ บุคลากรทางการแพทย์ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับพันธมิตรและดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ถูกรับรองมาตรฐาน HIMSS Analytics EMRAM Stage 7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1 และโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ เป็นต้น HIPAA (อ่านว่า เอช-ไอ-พี-เอ-เอ) ย่อมาจากคำว่า Health Insurance Portability and Accountability Act HIPAA หรือกฎหมายว่าด้วยการเคลื่อนย้ายและความรับผิดชอบในการประกันสุขภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีเป้าหมายในการสร้างมาตรฐานระดับสากลเพื่อคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจะได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การเปิดเผยข้อมูลโดยการยินยอมจากผู้ป่วย หรือการควบคุมและอนุญาตใช้ข้อมูลด้านสุขภาพเท่าที่จำเป็นและมีประโยชน์กับผู้ป่วยเท่านั้น  สำหรับข้อมูลที่จะได้รับการคุ้มครองภายใต้ HIPAA นั้น มีเงื่อนไขคือการปรากฎการระบุถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย โดยมีการกำหนดความหมายของของข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลที่จะได้รับการคุ้มครอง เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล รูปถ่าย ฯลฯ ที่สามารถระบุตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ จะได้รับการคุ้มครองทั้งสิ้น HIPAA เหมือนหรือต่างอย่างไรกับ PDPA ? ทั้ง HIPAA และ PDPA เป็นกฎหมายที่ต่างมีเป้าหมายในการปกป้องและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้การยินยอมจากบุคคลก่อนการเก็บข้อมูล โดย HIPAA เน้นการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพ ในขณะที่ PDPA นั้นครอบคลุมข้อมูลส่วนบุคคลในทุกประเภทไม่เพียงแต่วงการสุขภาพเท่านั้น โดยสถานพยาบาลในประเทศไทยที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยระหว่างประเทศกับทางสหรัฐอเมริกานั้น จำเป็นต้องปฏิบัติตามทั้ง PDPA ของประเทศไทยและ HIPAA เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวถูกออกแบบมาให้กับชาวสหรัฐฯ นั่นเอง เพื่อสร้างทั้งความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดี สถานพยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงความหมาย ขอบเขต และการใช้งานของกฎหมายเหล่านี้ ให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องและคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วยเป็นสูงสุด  HA (อ่านว่า เอช-เอ) ย่อมาจากคำว่า Hospital Accreditation Hospital Accreditation หรือการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คือกระบวนการประเมินและรับรองคุณภาพของสถานพยาบาลโดยองค์กรภายนอกที่เป็นกลาง โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงบริบทและความต้องการของแต่ละประเทศ ทำให้ HA เป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพการบริการสุขภาพของประเทศ เพื่อกระตุ้นให้สถานพยาบาลพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในเกณฑ์สำคัญของ HA คือการจัดการระบบสารสนเทศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น การจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วย ระบบสื่อสารภายใน ความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการพัฒนาคุณภาพเหล่านี้จะสร้างประโยชน์ให้กับทั้งผู้ป่วย บุคลากร และสถานพยาบาลภายใต้ความร่วมมือของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาปรับปรุง แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินเพื่อให้ได้ใบรับรอง HA ในที่สุด สถานพยาบาลที่ได้รับใบรับรอง HA จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยว่าจะได้รับการดูแลที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูง นอกจากนี้ การได้รับรอง HA ยังส่งเสริมให้บุคลากรในสถานพยาบาลมีความรู้ความสามารถและทักษะที่ทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารในการแข่งขันในตลาดบริการสุขภาพอีกด้วย JCI (อ่านว่า เจ-ซี-ไอ) ย่อมาจากคำว่า Joint Commission International JCI คือมาตรฐานการรับรองด้านการดูแลผู้ป่วยและคุณภาพของสถานพยาบาลในระดับสากล เกิดจากองค์กรอิสระไม่แสวงหาผลกำไร The Joint Commission จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมพัฒนาคุณภาพและให้การรับรองมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ด้วยเกณฑ์มาตรฐานที่เข้มงวดและครอบคลุมทุกมิติของการดูแลผู้ป่วย รวมถึงมีกระบวนการประเมินที่โปร่งใส ทำให้สถานพยาบาลที่ได้รับการรับรอง JCI สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยได้ในระดับสากลได้ JCI ถูกกำหนดมาเพื่อให้สถานพยาบาลที่ได้การรับรองต้องมีการปรับปรุงระบบและกระบวนการทำงานอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยมาตรฐาน JCI ครอบคลุมทุกมิติของการดูแลผู้ป่วย เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยในการเข้ารับบริการภายในสถานพยาบาล โดยมีเกณฑ์การประเมินทั้งหมด 2 หมวดหลัก ๆ คือ มาตรฐานที่เน้นผู้ป้วยเป็นศูนย์กลาง และมาตรฐานการจัดการสถานพยาบาล JCI และ HA เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? JCI และ HA เป็นมาตรฐานที่ใช้ประเมินคุณภาพของโรงพยาบาลแต่มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดย JCI เป็นมาตรฐานสากลที่มีเกณฑ์มาตรฐานที่เข้มงวดและครอบคลุมทุกมิติของการดูแลผู้ป่วย ในขณะที่ HA เป็นมาตรฐานที่พัฒนาขึ้นโดยแต่ละประเทศเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศนั้นๆ การขอรับรองทั้ง JCI และ HA  สามารถช่วยยกระดับคุณภาพของสถานพยาบาลและสร้างความน่าเชื่อถือในระดับสากลได้ แต่อย่างไรก็ตาม สถานพยาบาลจำเป็นต้องพิจารณาถึงทรัพยากรและความพร้อมขององค์กรอย่างรอบคอบ โดยอาจเริ่มจากการขอรับรอง HA ก่อน เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับบริบทของประเทศ และนำไปสู่การขอรับรอง JCI ในภายหลัง การวางแผนที่รอบคอบและการมีส่วนร่วมจากบุคลากรทุกระดับ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการบรรลุเป้าหมายนี้นั่นเอง เข้าใจระบบ HIS ให้มากขึ้นอีกขั้นหรือยัง ? เป็นอย่างไรบ้างกับ 8 คำย่อที่คุณควรรู้หากอยากเข้าใจระบบ HIS ภายในสถานพยาบาล ซึ่งแน่นอนว่าคุณไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือทำความเข้าใจมันอย่างลึกซึ้งทุกคำ แต่เมดคิวรีเพียงมาบอกเล่าสู่กันฟัง และหวังว่ามันจะมีประโยชน์ต่อคนที่กำลังสนใจหรือกำลังค้นหาความหมายเบื้องต้นของคำเหล่านี้อยู่ไม่มากก็น้อย  สำหรับ EP. ต่อไป เมดคิวรีจะพูดถึงระบบ HIS หรือระบบสารสนเทศต่าง ๆ ภายในสถานพยาบาลในแง่มุมไหน อย่าลืมติดตามและรับชมข่าวสารจากเราต่อไปในอนาคต ท่านใดที่สนใจปรึกษาระบบ MEDHIS และ MEDHIS Lite สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่ โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์) อีเมล : sales@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มคลิกที่นี่ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น Facebook : facebook.com/medcury.health/ LinkedIn : linkedin.com/company/medcury YouTube : https://www.youtube.com/@MEDcury

  • “แบ็คยาร์ด-เมดคิวรี” มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ 2568 คณะผู้บริหาร “พริ้นซิเพิล แคปิตอล”

    บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด และบริษัท เมดคิวรี จำกัด มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ 2568 แด่พาร์ตเนอร์ คณะผู้บริหาร บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด วันที่ 6 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา คณะผู้บริหาร บริษัท แบ็คยาร์ด จำกัดและบริษัท เมดคิวรี จำกัด นำโดยคุณเอกฤทธิ์ ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคุณอานนท์ ศิริพุทธชัยกุล ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายธุรกิจ Healthcare คุณอัมภาพร ล้ำเลิศศฤงคาร ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน คุณพานนท์ สุภิรัตน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานเทคโนโลยี คุณวัชรพันธ์ พิมลเศรษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย และคุณฉันทนัทธ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Healthcare เป็นผู้แทนคณะผู้บริหารฯ นำกระเช้าสวัสดีปีใหม่เข้าพบคณะผู้บริหาร บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ นำโดยนายแพทย์กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล กรรมการผู้จัดการบริษัท เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ประจำปี พ.ศ. 2568 บรรยายภาพที่ 1: คณะผู้บริหารแบ็คยาร์ด-เมดคิวรี มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่แด่นายแพทย์กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการบริษัท พริ้นซิเพิล แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) จากนั้นคณะแบ็คยาร์ด-เมดคิวรีฯ ได้เข้าพบคุณธาริน เอี่ยมเพชราพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บริษัท พริ้นซิเพิล แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ตามด้วยคุณพวัสส์ ธนวุฒิศิรวัชร์ กรรมการบริหาร บริษัท พริ้นซิเพิล แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) และนายแพทย์ตะวัน จึงสมาน รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด เพื่อมอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่ 2568 ในบรรยากาศที่เป็นกันเองและการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากคณะผู้บริหารพริ้นซิเพิล แคปิตอล บรรยายภาพที่ 2: คณะผู้บริหารแบ็คยาร์ด-เมดคิวรี มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่แด่คุณธาริน เอี่ยมเพชราพงศ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บริษัท พริ้นซิเพิล แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) บรรยายภาพที่ 3: คณะผู้บริหารแบ็คยาร์ด-เมดคิวรี มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่แด่คุณพวัสส์ ธนวุฒิศิรวัชร์ (ที่ 4 จากซ้าย) กรรมการบริหาร บริษัท พริ้นซิเพิล แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) บรรยายภาพที่ 4: คณะผู้บริหารแบ็คยาร์ด-เมดคิวรี มอบกระเช้าสวัสดีปีใหม่แด่นายแพทย์ตะวัน จึงสมาน (ที่ 4 จากซ้าย) รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด

  • รู้จักระบบ MEDHIS ระบบที่ตอบโจทย์ความต้องการของโรงพยาบาลทุกขนาด

    จากบทความก่อนหน้านี้ ได้พูดถึงการต่อยอดระบบ Centrix สู่เป้าหมายของการพัฒนาเป็นระบบ MEDHIS อ่านบทความต่อได้ที่ MEDcury เปลี่ยนโฉม Centrix สู่ MEDHIS เดินหน้าสร้างระบบนิเวศสุขภาพพร้อมขยายสู่ตลาดต่างประเทศ และในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับระบบ MEDHIS หนึ่งในเฮลท์เทคโซลูชันจากบริษัท เมดคิวรี จำกัด พร้อมด้วยเนื้อหาต่าง ๆ ที่จะทำให้คุณเข้าใจการทำงานของระบบสารสนเทศโรงพยาบาลในชื่อ MEDHIS แบบเข้าใจง่าย MEDcury คือบริษัทอะไร ? บริษัท เมดคิวรี จำกัด หรือ MEDcury (เมดคิวรี)  ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 นำโดยผู้ก่อตั้ง นายจตุพล ชวพัฒนากุล คือบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการแพทย์ ที่มีเป้าหมายในการสร้างระบบนิเวศสุขภาพให้ยั่งยืนผ่านโซลูชันด้านสุขภาพ (HealthTech Solutions) เพื่อช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบต่าง ๆ การยกระดับการบริการด้านสุขภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ ฯลฯ  ปัจจุบัน บริษัท เมดคิวรี จำกัด มี 4 โซลูชันพร้อมให้บริการสำหรับสถานพยาบาล ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสร้างโอกาสในการแข่งขันด้านธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ ได้แก่ ระบบ MEDHIS  : ระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาล (Hospital Information System หรือระบบ HIS) สำหรับสถาพยาบาลขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ หรือสถานพยาบาลที่มีการให้บริการทั้งแบบผู้ป่วยนอก (OPD) และแบบผู้ป่วยใน (IPD) เช่น โรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชน ระบบ MEDHIS Lite  : ระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาลขนาดย่อ (Lite Version) ที่จำเป็นและเพียงพอต่อการดำเนินการของสถานพยาบาลขนาดเล็กถึงขนาดกลาง หรือสถานพยาบาลที่มีการให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอก (OPD) เช่น คลินิกเวชกรรม คลินิกเสริมความงาม คลินิกทันตกรรม หรือคลินิกสุขภาพจิต ฯลฯ ระบบ MEDConnext  : ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาล (Hospital Information Exchange หรือระบบ HIE) ที่มีมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ FHIR Standard และสามารถเชื่อมต่อกับระบบ MEDHIS ได้อย่างคล่องตัว แพลตฟอร์ม Virtual Health  : บริการทางการแพทย์ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้โดยไม่ต้องอยู่แค่ในโรงพยาบาล  ระบบเหล่านี้จำเป็นแค่ไหนกับโรงพยาบาล ?   หากพูดถึงปัจจัยของประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย การเติบโตด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการให้บริการที่เน้นผู้ป่วยเป็นหลัก (Patient-Centric) มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์รายบุคคล การเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาลเพื่อลดภาระของผู้ป่วย และการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพทั้งในและนอกสถานพยาบาลของผู้ป่วย ฯลฯ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เปิดโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า และเป็นความท้าทายของผู้บริหารสถานพยาบาลในการพิจารณาและคัดเลือกระบบโรงพยาบาลที่เหมาะสม เพื่อรองรับการเติบโตและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ระบบ HIS ในสถานพยาบาลคืออะไร ? หากพูดถึงความหมายของระบบ HIS หลาย ๆ ท่านก็คงได้ยินคำเหล่านี้มาไม่มากก็น้อย ทั้งระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาล ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล หรือระบบสารสนเทศสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ ที่ต่างประกอบสร้างความหมายเป็นระบบ HIS เหมือนกัน ที่เป็นหนึ่งใน ‘ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล’ ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานในแต่ละส่วนงานของสถานพยาบาลให้ราบรื่นนั่นเอง อ่านบทความต่อได้ที่ ระบบโรงพยาบาลคืออะไร ? เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานสถานพยาบาล ระบบ HIS จึงเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้เพื่อยกระดับระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลและคลินิกต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ระบบ HIS จึงเปรียบเสมือนระบบหน้าบ้าน (Front-end) ที่ดำเนินงานด้วยระบบอัตโนมัติ (Automation) ในการบริหารจัดการข้อมูลผู้ป่วย  โดยครอบคลุมการทำงานแต่ละส่วนงานตั้งแต่การลงทะเบียน การบันทึกประวัติผู้ป่วย การรักษา การจ่ายยา การชำระเงิน ฯลฯ และสามารถสนับสนุนการตัดสินใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการรักษา การศึกษาวิจัย การจัดการคลังยา หรือการบริหารจัดการโรงพยาบาล ฯลฯ ระบบ HIS เชื่อมต่อกับระบบ EMR (Electronic Medical Record) หรือระบบการบันทึกเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทดแทนการบันทึกด้วยลายมือและการบันทึกลงกระดาษแบบวิธีเดิม (Manual) โดยปัจจุบันถูกนำไปใช้ในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างแพร่หลาย และเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานภายในสถานพยาบาลด้วยเช่นกัน อ่านบทความต่อได้ที่ ระบบ EMR กับ EHR ต่างกันอย่างไร ? แต่เนื่องจากสถานพยาบาลแต่ละที่แตกต่างกันไปตามขนาดธุรกิจ จำนวนเตียง และมาตรฐานขั้นตอนการทำงาน (SOP) ผู้บริหารสถานพยาบาลจึงควรพิจารณาโดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นสำคัญ ในการคัดเลือกคุณสมบัติของระบบและการเตรียมความพร้อมของบุคลากร เพื่อให้สามารถสนับสนุนแต่ละส่วนงานอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับธุรกิจสถานพยาบาล ระบบ MEDHIS ตอบโจทย์ความต้องการของโรงพยาบาลทุกขนาด ระบบ MEDHIS ถูกพัฒนาจากระบบ Centrix โดยบริษัท MEDcury ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้งาน และการพัฒนาจำนวนโมดูล (Modules) อย่างต่อเนื่องให้ครอบคลุมการดำเนินงานของสถานพยาบาลในทุก ๆ ด้าน ปัจจุบันระบบ MEDHIS แบ่งการให้บริการออกเป็น 2 รูปแบบตามขนาดธุรกิจและจำนวนโมดูล ไม่ว่าจะเป็น ระบบ MEDHIS : เหมาะสำหรับสถานพยาบาลขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยทั้งแบบผู้ป่วยนอก (OPD) และผู้ป่วยใน (IPD) มีจำนวน 21 โมดูล ครอบคลุมการดำเนินงานของโรงพยาบาลตั้งแต่การลงทะเบียน แผนกการให้บริการผู้ป่วยต่าง ๆ การบัญชี และการจ่ายยา ฯลฯ ระบบ MEDHIS Lite :  หรือระบบ MEDHIS ขนาดย่อ (Lite Version)  เหมาะสำหรับสถานพยาบาลขนาดเล็กไปจนถึงกลางหรือคลินิก ที่มีรูปแบบการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (OPD Clinics) โดยมีจำนวน 6 โมดูลครอบคลุมการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับระบบ MEDHIS ที่ใช้ในสถานพยาบาลขนาดใหญ่ให้กับคลินิกแต่ละประเภท เช่น คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกเฉพาะทางด้านต่าง ๆ คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกสุขภาพจิต เป็นต้น ความครบครันของโมดูลในระบบ MEDHIS ที่ครอบคลุมการดำเนินงานและขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยแบบเต็มรูปแบบ (Full Patient Journey) และยังสามารถปรับจำนวนโมดูลให้เหมาะสำหรับสถานพยาบาลขนาดเล็กลงมา ทำให้ทั้ง 2 ระบบนี้จาก MEDcury จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับสถานพยาบาลทุกขนาด และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับระบบสารสนเทศในการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการให้บริการผู้ป่วย และรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยในอนาคตได้ MEDHIS ระบบที่เข้าใจผู้ใช้งานอย่างแท้จริง การออกแบบระบบโรงพยาบาลที่เรียบง่ายน่าใช้งาน และมีขั้นตอนไม่ซับซ้อนเป็นปัจจัยสำคัญในเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้ใช้งาน โดยเฉพาะ ‘พยาบาล’ ที่ต้องสัมผัสกับระบบมากที่สุด เพื่อลดเวลาในการทำความเข้าใจและเรียนรู้การทำงานของระบบให้น้อยลงกว่าเดิม  ด้วยประสบการณ์การทำงานในระบบสาธารณสุขไทยมาอย่างยาวนานและพัฒนาระบบโดยทีมงานคนไทย ระบบ MEDHIS จึงคำนึงถึงความคล่องตัวในการใช้งานไว้เป็นอันดับแรกควบคู่กับความปลอดภัยของระบบ  ด้วยรูปแบบและหน้าตาของระบบที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน (User-Friendly) พร้อมรองรับการใช้งานระบบเป็นภาษาไทยแบบเต็มรูปแบบ  ทั้งนี้ MEDcury มีทีมงานที่พร้อมจัดฝึกอบรมการมใช้งานระบบทั้งรูปแบบออนไลน์และในสถานที่ (On-site) ให้กับผู้ใช้งานในทุก ๆ ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะช่วยคลายข้อกังวลสำหรับผู้บริหารสถานพยาบาลในการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร เพื่อสร้างความมั่นใจในระหว่างการใช้งานและสนับสนุนบุคลากรให้สามารถดำเนินงานแต่ละส่วนงานต่าง ๆ ผ่านระบบ MEDHIS ได้อย่างเต็มกำลัง  จุดเด่นที่ทำให้ระบบ MEDHIS เป็นระบบที่ตอบโจทย์การดำเนินงานของโรงพยาบาลในยุคนี้ คือตัวเลือกของ การทำงานผ่านระบบคลาวน์ (On-Cloud) ด้วยระบบเว็บเบส (Web-Based Systems)  ที่ช่วยให้บุคลากรในสถานพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลล่าสุดของผู้ป่วย เพียงอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงอุปกรณ์ นอกจากนี้ การลดต้นทุนในการบำรุงรักษา (Maintenance) ของสถานพยาบาลหลายแห่ง ทำให้ตัวเลือกการใช้งานที่กล่าวได้รับความนิยมมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยจุดเด่นของการเลือกใช้รูปแบบดังกล่าว มีดังนี้ รองรับการปรับขนาดธุรกิจ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคต ระบบ On-Cloud เพิ่ม-ลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้ยืดหยุ่นมากกว่า ระบบ Web-Based ที่สามารถใช้งานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ได้ในอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลแบบ Real-Time พร้อมควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงตามที่กำหนดไว้ในแต่ละตำแหน่งได้ (Role-Based Access Control หรือ RBAC) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลผ่านการเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) จุดเด่นเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนในการบำรุงรักษาเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการลงทุนด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงข้อจำกัดของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์สารสนเทศในสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่การเก็บข้อมูล งบประมาณ จำนวนบุคลากร หรือความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์ของระบบโรงพยาบาล ฯลฯ ให้ลดลงได้อีกด้วย ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของระบบ MEDHIS การใช้กระดาษในสถานพยาบาลคืออีกหนึ่งต้นทุนที่อาจมองข้ามได้ยาก ทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ ค่าหมึกพิมพ์ ค่าขนส่ง ค่าจัดเก็บเอกสาร ค่าทำลาย ฯลฯ รวมถึงข้อจำกัดเรื่องพื้นที่การจัดเก็บและความเสี่ยงในการสูญหายจากทั้งอุบัติเหตุหรือภัยธรรมชาติ และความเข้าใจผิดที่อาจเกิดจากลายมือแพทย์ในระหว่างการรักษาผู้ป่วย ระบบ MEDHIS รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลบนระบบ EMR แบบเต็มระบบ ถือเป็นหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยเสริมเป้าหมายการเป็นโรงพยาบาลไร้กระดาษ (Paperless Hospital) หรือโรงพยาบาลสีเขียว (Green Hospital) ได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยลดปัจจัยทางด้านต้นทุนต่าง ๆ ที่อาจเพิ่มขึ้นจากการใช้กระดาษ และความเสี่ยงของการจัดเก็บข้อมูลและการบันทึกข้อมูลในรูปแบบเดิม นอกจากนี้ระบบ MEDHIS ยังออกแบบฟีเจอร์ที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ฟีเจอร์ การแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ (Speech to Text)  ที่ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการบันทึกข้อมูล และฟีเจอร์ การถ่ายภาพและอัปโหลดภาพ (Taken Photos and Upload Images)  ที่สามารถใช้งานผ่านระบบโดยตรงได้ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถบันทึกการวินิจฉัยหรือการรักษาได้คล่องตัวมากขึ้น และที่สำคัญคือการเพิ่มเวลาให้กับบุคลากรทางการแพทย์มีเวลาดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้นนั่นเอง การใช้ระบบ EMR ในระบบ MEDHIS ยังสามารถรองรับการเชื่อมต่อ API กับระบบต่าง ๆ ภายในสถานพยาบาลเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของบุคลากรในการวินิจฉัยผู้ป่วย และลดความผิดพลาดของข้อมูลหรือผลตรวจจากระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ระบบงานห้องฉุกเฉิน หรือ ER (Emergency Room)  ระบบที่จัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ หรือ PACS (Picture Archiving and Communication System)  ระบบสารสนเทศทางห้องปฎิบัติการ LIS (Laboratory Information System)  ระบบสารสนเทศด้านรังสีวิทยา หรือ RIS (Radiology Information System) MEDHIS กับความเชื่อมั่นในมาตรฐานระบบสารสนเทศ แม้ว่าการนำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการแพทย์มาใช้ในโรงพยาบาลจะเป็นสิ่งดึงดูดลูกค้า นักลงทุน หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีทักษะ แต่ก็ อาจไม่เพียงพอในการแข่งขันธุรกิจในปัจจุบันอีกต่อไป  เมื่อการใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีต้องมาพร้อมกับความมั่นใจและความน่าเชื่อถือที่มากกว่าการมีระบบเพียงอย่างเดียว มาตรฐาน HIMSS EMRAM (Electronic Medical Record Adoption Model) เป็นมาตรฐานที่ช่วยวัดประสิทธิภาพระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล เพื่อช่วยให้สถานพยาบาลสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นในความพร้อมของสถานพยาบาลในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยและเพิ่มขีดความสามารถในพัฒนาสู่ระดับมาตรฐานสากล ระบบ MEDHIS เป็นหนึ่งฟันเฟืองที่ช่วยผลักดันระบบสารสนเทศของโรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ ให้ได้รับการรับรอง EMRAM Stage 7 ในปี พ.ศ.2562 ถือเป็นโรงพยาบาลแห่งที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามมาด้วยโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ที่ได้รับการรับรอง EMRAM Stage 7 เช่นเดียวกันในปี พ.ศ.2567 มาตรฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบ MEDHIS ในการผลักดันสถานพยาบาลให้มุ่งสู่มาตรฐานระดับประเทศและระดับสากลอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต ด้วยประโยชน์ของการใช้งานผ่านมุมมองของผู้ให้บริการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการรักษา การลดความผิดพลาดทางการแพทย์ การเพิ่มความสะดวกในการทำงานของบุคลากร ฯลฯ และมุมมองของผู้ใช้บริการที่จะช่วยให้ได้รับการรักษาที่รวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลสุขภาของตนเองได้ง่ายขึ้น และความพึงพอใจในการใช้บริการสถานพยาบาล ฯลฯ ทำไมต้องใช้ระบบ MEDHIS ? การดำเนินงานในโรงพยาบาลหรือคลินิกไม่ใช่แค่การบริการผู้ป่วย แต่ยังต้องมีการจัดการระบบอย่างมีระเบียบเพื่อให้การให้บริการผู้ป่วยเป็นไปอย่างราบรื่นตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลใหญ่หรือคลินิกขนาดเล็กต่างก็จำเป็นต้องมีระบบการจัดการอย่างระบบ HIS ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ หากกำลังมองหาระบบ HIS พร้อมผู้เชี่ยวชาญและทีมซัพพอร์ตลูกค้า (Customer Support) ที่พร้อมให้คำปรึกษา ดูแล แก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง MEDcury เราพร้อมให้บริการโซลูชันอย่างระบบ MEDHIS และระบบ MEDHIS Lite ระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงพยาบาลที่รองรับการทำงานของสถานพยาบาลทุกขนาด ด้วยความเชื่อมั่นของลูกค้าโรงพยาบาลชั้นนำกว่า 30 โรงพยาบาลและ 50 คลินิกทั่วประเทศไทย และฐานข้อมูลผู้ป่วยภายใต้การดูแลกว่า 3.5 ล้านราย (HN) ด้วยความมุ่งมั่นของบริษัท เมดคิวรี จำกัด ที่จะพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยและระบบนิเวศสุขภาพให้แข็งแกร่งและยั่งยืน ผ่านการพัฒนาระบบและปรับปรุงระบบอยู่เสมอเพื่อให้สามารถตอบโจทย์การทำงานของสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงโอกาสของการเชื่อมต่อและการบูรณาการกับระบบต่าง ๆ ในการรองรับความต้องการของตลาดด้านสุขภาพ เพื่อช่วยให้สถานพยาบาลของท่านสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและมุ่งสู่การสร้างระบบนิเวศสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป ท่านใดที่สนใจปรึกษาระบบ MEDHIS และ MEDHIS Lite สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่ โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์) อีเมล : sales@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น Facebook : facebook.com/medcury.health/ LinkedIn : linkedin.com/company/medcury YouTube : https://www.youtube.com/@MEDcury   #ระบบโรงพยาบาล #HIS #HMS #ระบบHIS #ระบบHMS #MEDcury #MEDHIS #MEDconnext #Centrix

  • ระบบโรงพยาบาลคืออะไร? กับความสำคัญในการดำเนินงานในโรงพยาบาล

    “ระบบโรงพยาบาล” เปรียบเสมือนกลไกในการขับเคลื่อนให้ธุรกิจโรงพยาบาลดำเนินไปได้อย่างครบวงจรตั้งแต่หน้าบ้านไปจนถึงหลังบ้าน ช่วยควบคุมการดำเนินงานในแต่ละส่วนงานหรือแผนกต่าง ๆ ในโรงพยาบาลให้เป็นระบบ แต่จะมีความจำเป็นหรือมีความสำคัญอย่างไรต่อการดำเนินงานในโรงพยาบาลอย่างไรนั้น วันนี้ MEDcury จะมาอธิบายให้เข้าใจกันอีกครั้ง ระบบโรงพยาบาล (Hospital System) คืออะไร ? ระบบโรงพยาบาล (Hospital System) คือระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการแผนกต่าง ๆ ในโรงพยาบาลให้ไปเป็นได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการทางการแพทย์ การจัดการทรัพยากรต่าง ๆ การบริหารจัดการโรงพยาบาล ฯลฯ อธิบายให้เห็นภาพคือตั้งแต่คนไข้เดินเข้ามาใช้บริการ จนกระทั่งรับยาและออกจากโรงพยาบาล ซึ่งในแต่ละขั้นตอนนั้นจะต้องมีระบบรองรับเพื่อให้โรงพยาบาลสามารถให้บริการคนไข้ได้นั่นเอง หากพูดถึงการเลือกใช้ระบบต่าง ๆ ในโรงพยาบาลนั้นมักขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ประกอบกัน โดยสามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัย อาทิ ขนาด จำนวนเตียง กระบวนการจัดการ (Operation Flow) และธุรกิจโรงพยาบาลที่มีอยู่แตกต่างกัน โดยธุรกิจโรงพยาบาลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ สถานพยาบาลที่ให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอกหรือ OPD (Out-Patient Department) เช่น คลินิก และสถานพยาบาลที่ให้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน IPD (In-Patient Department) เช่น โรงพยาบาล เป็นต้น ความสำคัญของระบบโรงพยาบาล อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าระบบโรงพยาบาลเปรียบเสมือนกลไกเพื่อช่วยควมคุมการดำเนินงานในแต่ละส่วนให้เป็นตามมาตรฐานขั้นตอนการทำงาน (SOP) โดยระบบโรงพยาบาลถูกออกแบบมาเพื่อวางกระบวนการทำงานที่เหมาะสมกับขนาดและความต้องการเพื่อลดความซับซ้อนและความผิดพลาดระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งบางสถานพยาบาลอาจมีการใช้ระบบในการบริหารงานทั้งหมดหรือปรับใช้เพียงบางส่วนตามทรัพยากรและงบประมาณที่กำหนดไว้ ในปัจจุบัน ทุก ๆ โรงพยาบาลมีการปรับใช้ระบบ EMR (Electronic Medical Record) หรือเวชระบียนอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนการใช้กระดาษ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการบันทึกประวัติของผู้ป่วยและข้อมูลทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และสะดวกในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างแผนกในโรงพยาบาลและลดภาระงานของพยาบาลนั่นเอง  ซึ่งระบบ EMR ดังกล่าวมีมาตรฐานในการชี้วัดเพื่อสร้างความมั่นใจในการการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาในโรงพยาบาล โดยมีมาตรฐานอย่าง EMRAM หรือ Electronic Medical Record Adoption Model ที่หลาย ๆ โรงพยาบาลในประเทศไทยได้รับการรับรอง โดย EMRAM มีมาตรฐานตั้งแต่ระดับ Stage 0-7 ซึ่งโรงพยาบาลในประเทศไทยที่ได้การรับรองในระดับ Stage 7 หรือสูงสุด ณ ปัจจุบัน อาทิ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ฯลฯ ประเภทของระบบโรงพยาบาล หากพูดถึงประเภทของระบบโรงพยาบาลนั้นอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท โดยสามารถแบ่งตามมุมมองของการใช้งาน ระดับของการใช้งาน ฯลฯ ซึ่งในบทความนี้จะขอแบ่งประเภทของโรงพยาบาลตามกระบวนการจัดการหรือ Operation Flow ในโรงพยาบาลทั่วไป ระบบโรงพยาบาลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามกระบวนการจัดการในโรงพยาบาล (Hospital Operation Flow) เปรียบเสมือนระบบที่รับผิดชอบแต่ละส่วนของบ้าน ซึ่งระบบโรงพยาบาลนั้นจะขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของบุคคลากรและแผนกที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล ได้แก่ ระบบหน้าบ้าน (Front-end) :   ตัวอย่างเช่น ระบบ HIS (Hospital Information System) หรือระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศหรือระบบจัดการข้อมูลคนไข้ตั้งแต่ การลงทะเบียน การกรอกประวัติผู้ป่วย การรักษา การจ่ายยา เป็นต้น โดยมีระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่าง ระบบ EMR (Electronic Medical Record), ระบบ HIE (Hospital Information Exchange) เป็นต้น ระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ (Hospital Information System) คือระบบบริหารจัดการสารสนเทศ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานในโรงพยาบาลที่เชื่อมต่อกับระบบ EMR ในการบันทึกข้อมูลและประวัติของผู้ป่วยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีจุดเด่นคือลดการใช้กระดาษ (Paperless Hospital) และการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยกับแผนกต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยแต่ละโรงพยาบาลมักมีฟีเจอร์หรือจำนวน Modules ที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความต้องการของการใช้งานระบบ HIS ตั้งแต่การลงทะเบียน การบันทึกประวัติผู้ป่วย การวินิจฉัยและรักษา การจ่ายยา รวมไปถึงการชำระเงินผู้ป่วย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระบบ HIS ของโรงพยาบาลบางแห่งนั้นไม่ได้มีจำนวน Modules ที่ครบครันเสมอไป อาทิ คลินิกฟันเฉพาะทาง (Dentistry) หรือการบริหารจัดการเลือด (Blood Bank) ซึ่งต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมของระบบก่อนเลือกใช้งานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากับการดำเนินงานในภาพรวมได้ ปัจจุบันการติดตั้งระบบ HIS หรือระบบสารสนเทศโรงพยาบาลมีการพัฒนาให้มีความปลอดภัยและง่ายต่อการใช้งานในทุก ๆ อุปกรณ์มากขึ้น คือการติดตั้งแบบ Web-based และ Cloud-based โดยอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ Web-based :   ช่วยให้บุคลากรในโรงพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลล่าสุดของผู้ป่วยได้จากอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ลงอุปกรณ์นั้น ๆ  Cloud-based :   ช่วยให้โรงพยาบาลไม่ต้องลงทุนในการติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ (On-premise) และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และยังสามารถปรับขนาดของการจัดเก็บตามขนาดธุรกิจของโรงพยาบาล โดยมีมาตราการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เช่น การผ่านการยืนยันตัวบุคคล ในประเทศไทย ผู้ให้บริการระบบ HIS บางรายมีการเพิ่มเติมจำนวน Modules ในระบบเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น และป้องกันความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นจากบุคคล (Human Error) ยกตัวอย่าง ระบบ MEDHIS (ระบบบ HIS ที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากระบบ Centrix) จากบริษัท เมดคิวรี จำกัด ที่มี Modules เพิ่มเติมเพื่อช่วยลดความผิดพลาดและสามารถให้บริการผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ระบบ Clinical Decision Support Systems (CDSS) และ Clinical Pharmacy Order Entry (CPOE) เป็นต้น ระบบหลังบ้าน (Back-end) :  ตัวอย่างเช่น ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) หรือระบบบริการจัดการทรัพยากร และคลังยาต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล ระบบบริหารจัดการทรัพยากรในโรงพยาบาล (ERP) ระบบบริหารจัดการทรัพยากร หรือระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) คือระบบจัดการหลังบ้านของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับแผนกต่าง ๆ อาทิ ระบบบัญชี ระบบการจ่ายเงิน ระบบบริหารจัดการสินค้าคงคลัง โดยธุรกิจโรงพยาบาลมีความพิเศษจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ คือเรื่องของการยกเว้นภาษี VAT 7% ทำให้ระบบ ERP ทั่วไปในตลาดต้องมีการปรับในจุดนี้เพื่อคำนวนต้นทุนของโรงพยาบาลให้ถูกต้องนั่นเอง การเชื่อมต่อระบบ ERP กับระบบ HIS ภายในโรงพยาบาลโดยสมบูรณ์นั้น จะเกิดการสั่งจ่ายยาโดยแพทย์และเภสัชกรผ่านระบบ HIS ตามกระบวนการเพื่อดำเนินการในเรื่องการตัดสินค้าคงคลัง กระบวนการจัดซื้อยา และการลงบัญชีให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะกับการดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลที่มีการเบิกจ่ายยาอยู่ตลอดเวลาเพื่อลดความผิดพลาดของการนับสินค้าคลัง  หากพูดถึงการเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อระหว่าง 2 ระบบนี้ถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับหลาย ๆ โรงพยาบาล โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งด้านงบประมาณ ความพร้อมของบุคลากร และความสามารถในการค้นหาบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญ ฯลฯ เพื่อทดแทนวิธีการนับและตัดสินค้าคงคลังนอกเหนือการใช้ระบบที่อาจนำมาสู่การทุจริตและเกิดความผิดพลาดได้ง่าย การปรับใช้ระบบ ERP กับธุรกิจโรงพยาบาลจึงถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจและสามารถต่อยอดจากขนาดของธุรกิจของโรงพยาบาลได้ตั้งแต่คลินิกผู้ป่วยนอก (OPD Clinic) ไปจนถึงสถานพยาบาลขนาดใหญ่ ยกตัวอย่าง ระบบ Odoo ERP จากบริษัท แบ็คยาร์ด จำกัด ที่มีการพัฒนาระบบ ERP เพื่อเจาะกลุ่มตลาดสถานพยาบาล โดยเชื่อมระบบเข้ากับระบบ MEDHIS ของบริษัท เมดคิวรี จำกัด โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มความสะดวกให้กับโรงพยาบาลที่กำลังมองหาระบบ ERP ที่เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการทรัพยากรภายในโรงพยาบาล ระบบสนับสนุนอื่น ๆ (Support System) : ตัวอย่างเช่น Telehealth, Telemedicine ที่ช่วยให้การบริการทางการแพทย์มีประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในโรงพยาบาล หรือระบบ CRM (Customer Relationship Management), Call Center เป็นต้น ระบบสนับสนุนภายในโรงพยาบาล (Support System) ระบบสนับสนุนอื่น ๆ ในโรงพยาบาล อาทิ ระบบ Telehealth หรือ Telemedicine, CRM หรือระบบ Call Center ถือเป็นระบบสนับสนุนที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับสถานพยาบาลโดยเฉพาะผู้ป่วย เพื่อตอบโจทย์การให้บริการที่มากกว่าแค่การรักษา และเพิ่มความพึงพอใจในการใช้บริการแก่ผู้ป่วยอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลเอกชนที่มีการนำระบบ CRM เข้ามาปรับใช้เพื่อช่วยให้โรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการข้อมูลการใช้บริการของผู้ป่วย เพื่อเสนอขายผลิตภัณฑ์หรือแพ็กเกจสุขภาพแบบ Personalized ที่ช่วยตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลได้อย่างตรงจุดนั่นเอง โดยระบบดังกล่าวขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งาน เนื่องจากตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้หลายโรงพยาบาลอาจมีการจ้างพนักงานแทนการใช้ระบบเพื่อให้มีความเหมาะสมกับต้นทุนนั่นเอง ระบบโรงพยาบาลมีความสำคัญกับการดำเนินงานโรงพยาบาล สรุปแล้ว ระบบโรงพยาบาลถือเป็นหัวใจในการดำเนินงานและเปรียบเสมือนหน้าบ้านและหลังบ้านของโรงพยาบาล ซึ่งผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสะดวกของผู้ใช้งานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น พยาบาล แพทย์ เภสัชกร ฯลฯ โดยพิจารณาและเปรียบเทียบระบบโรงพยาบาลจากผู้ให้บริการต่าง ๆ ในตลาด ไม่ว่าจะเป็น ความเข้ากันได้ของระบบ การออกแบบที่เหมาะสมกับสถานพยาบาลเป็นสำคัญ เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาคนไข้ให้มีข้อผิดพลาดและข้อกังวลน้อยที่สุด ท่านใดที่สนใจ ปรึกษาระบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลต่าง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่ โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์) อีเมล : sales@medcury.health  หรือกรอกแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น Facebook : facebook.com/medcury.health/ LinkedIn : linkedin.com/company/medcury YouTube : https://www.youtube.com/@MEDcury   #ระบบโรงพยาบาล #HIS #HMS #ระบบHIS #ระบบHMS #MEDcury #MEDHIS #MEDconnext #Centrix

  • MEDcury เปลี่ยนโฉม Centrix สู่ MEDHIS เดินหน้าสร้างระบบนิเวศสุขภาพพร้อมขยายสู่ตลาดต่างประเทศ

    MEDcury เปลี่ยนโฉม Centrix สู่ MEDHIS บริษัท เมดคิวรี จำกัด ผู้ผลิตและพัฒนา HealthTech Solutions สำหรับโรงพยาบาล ประกาศเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจาก Centrix ระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล (Hospital Information System หรือ HIS) สู่ระบบ MEDHIS หวังสร้างระบบนิเวศสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านซอฟต์แวร์สำหรับ Smart Hospital พร้อมปรับแผนธุรกิจรุกหน้าขยายตลาดในไทยและต่างประเทศ บริษัท เมดคิวรี จำกัด หรือ MEDcury ผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์โรงพยาบาลที่มุ่งพัฒนาโซลูชันต่าง ๆ ให้ก้าวทันเทคโนโลยีโรงพยาบาลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีเป้าหมายเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ และยกระดับคุณภาพการให้บริการผู้ป่วย โดยปัจจุบัน MEDcury มี 3 โซลูชันหลัก ได้แก่ ระบบ MEDHIS  :  ระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) ระบบ MEDConnext  :  ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างโรงพยาบาล (Hospital Information Exchange : HIE) หมอในบ้าน  :  Virtual Health Platform สำหรับบริการทางการแพทย์ออนไลน์  นายจตุพล ชวพัฒนากุล ผู้ก่อตั้ง บริษัท เมดคิวรี จำกัด กล่าวว่า “ปี 2567 เป็นต้นไป MEDcury เตรียมเดินหน้าขยายการให้บริการ HealthTech Solutions โดยเพิ่มฐานลูกค้าและพันธมิตรจากต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อมุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านผู้ให้บริการซอฟต์แวร์โรงพยาบาลที่เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดย MEDcury หวังที่จะเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ด้านโรงพยาบาลระดับภูมิภาค (Regional Company) เพื่อเปลี่ยนอุตสาหกรรม Healthcare ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”   เป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าและพันธมิตรทั้งในไทยและต่างประเทศ นายจตุพล กล่าวเพิ่มเติมว่า “MEDcury อยู่ระหว่างการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ทั้งการพัฒนาโซลูชันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การเสริมกลยุทธ์การตลาดให้บริษัทเป็นที่รู้จักในวงกว้างผ่านโซลูชันที่ให้บริการ และการมองหาพันธมิตรเพื่อตอบรับความต้องการของตลาดและร่วมกันสร้างระบบนิเวศสุขภาพ (Healthcare Ecosystem) ไปด้วยกัน” MEDcury เดินหน้าสร้างระบบนิเวศสุขภาพสู่อนาคต ระบบ Centrix โซลูชันจากบริษัท ฮิวแมน เซนทริค จำกัด ได้รับความไว้วางใจจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ในประเทศไทยมามากกว่าครึ่งทศวรรษ โดยระบบ Centrix กลายเป็นที่รู้จักในฐานะระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล (HIS) ให้กับโรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1 ที่ผ่านมาตรฐาน HIMSS Analytics EMRAM Stage 7 มาตรฐานสูงสุดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลเป็นแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2562 และเดินหน้าขยายฐานลูกค้าทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยปัจจุบันระบบ Centrix มีกลุ่มลูกค้าโรงพยาบาลที่ให้ความเชื่อมั่นในศักยภาพมากกว่า 20 โรงพยาบาลทั่วประเทศไทย “ด้วยความไว้วางใจอันยาวนานจากโรงพยาบาลทั่วประเทศที่มีต่อระบบ Centrix และความเชี่ยวชาญรวมถึงวิสัยทัศน์อันมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศสุขภาพของ MEDcury เรายินดีที่จะต่อยอดประสิทธิภาพการทำงานของระบบซอฟต์แวร์ของ Centrix ให้ตอบโจทย์ธุรกิจโรงพยาบาลแต่ละรูปแบบมากขึ้น และมอบความเชื่อมั่นในนามของระบบ MEDHIS เพื่อต่อยอดประสิทธิภาพของระบบ มุ่งสู่เปลี่ยนแปลงระบบนิเวศสุขภาพให้ยั่งยืนต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งการร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อจำหน่ายหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ให้กับกลุ่มลูกค้าโรงพยาบาลให้ครอบคลุมมากกว่าเดิม” นายจตุพล กล่าว การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สะท้อนวิสัยทัศน์ของ บริษัท เมดคิวรี จำกัด ในการเสริมสร้างระบบนิเวศสุขภาพให้แข็งแกร่งขึ้น ผ่านโซลูชันต่าง ๆ ที่ให้บริการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของระบบ Centrix ให้สอดคล้องกับการทำงานของโรงพยาบาลในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจโรงพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์สำคัญที่บริษัทฯ วางไว้ MEDHIS ระบบซอฟต์แวร์โรงพยาบาลจาก MEDcury ระบบ MEDHIS จาก MEDcury คือโซลูชันระบบการบริหารจัดการโรงพยาบาล (HIS) ที่พัฒนาต่อยอดจากระบบ Centrix ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจโรงพยาบาลและระบบสาธารณสุขมากขึ้น มาพร้อมจำนวนโมดูลมากถึง 21 ตัวเลือก (Modules) รองรับระบบการทำงานในโรงพยาบาลแต่ละขนาด ตลอดจนการปรับปรุงระบบให้สามารถเชื่อมต่อระบบอื่น ๆ ได้อย่างไร้รอยต่อ ด้วยโซลูชันจากผู้พัฒนาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น MEDConnext ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างโรงพยาบาล และ MNB (หมอในบ้าน) แพลตฟอร์ม Virtual Health ในการบริการทางการแพทย์ออนไลน์ “MEDcury มีความยินดีและพร้อมนำเสนอระบบบริหารจัดการโรงพยาบาล MEDHIS ที่เกิดจากความตั้งใจและวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ พร้อมทั้งพันธมิตรที่มีอุดมการณ์ในการพัฒนาระบบสาธาณสุขและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยและคนทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้น ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพและประสบการณ์ของทีมงานในการผลักดันเป้าหมายการดำเนินงานในปี 2567 เพื่อผลักดันให้ MEDcury กลายเป็น Regional Company ในอนาคตอันใกล้” นายจตุพล กล่าวทิ้งท้าย คำมั่นสัญญาของ MEDcury ในการพัฒนาอุตสาหกรรม Healthcare สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้คนทั่วโลกหันมาสนใจเรื่องโรคภัยและการดูแลสุขภาพมากขึ้น เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ จากเหล่าสตาร์ทอัป HealthTech ที่มีจำนวนเติบโตอย่างต่อเนื่องจากความต้องการบริการทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้น การตระหนักถึงความสำคัญของระบบสาธารณสุข และการขยายตัวของธุรกิจจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ปัจจัยเหล่านี้ต่างเพิ่มความท้าท้ายและโอกาสของการเติบโตด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอยู่ไม่น้อย การปรับตัวเพื่อสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงจึงกลายเป็นเรื่องที่หลาย ๆ โรงพยาบาลต้องตื่นตัวอยู่เสมอ และมองหาโซลูชันที่จะเติบโตไปพร้อมกันได้ อนาคตของ MEDcury คือสร้างความร่วมมือพันธมิตรและโรงพยาบาลทั่วโลก ด้วยความเชี่ยวชาญของทีมงานและเป้าหมายของบริษัทฯ ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการแพทย์ ทั้งการพัฒนา HealthTech Solutions ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ระบบ MEDHIS, ระบบ MEDConnext และ Virtual Health Platform เพื่อยกระดับชีวิตของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบสาธารณสุข สนับสนุนให้โรงพยาบาลสามารถก้าวสู่การเป็น Smart Hospital และการสะท้อนขีดความสามารถที่จะขยายธุรกิจสู่ระดับสากลอย่างเต็มกำลัง เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคตของวงการแพทย์และสร้างระบบนิเวศสุขภาพอย่างยั่งยืน สนใจนำระบบ MEDHIS เข้ามาใช้ในโรงพยาบาลของคุณ ? ท่านใดที่สนใจ ระบบ MEDHIS ในการบริหารจัดการโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่ โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์) อีเมล : sales@medcury.health  หรือกรอกแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น Facebook : facebook.com/medcury.health/ LinkedIn : linkedin.com/company/medcury YouTube : https://www.youtube.com/@MEDcury

  • 4 เหตุผลที่โรงพยาบาลควรอัปเกรดระบบ Hospital Information System (HIS)

    เพราะโรงพยาบาลเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาลเอาไว้ แน่นอนว่าการเก็บข้อมูลแบบ Manual นั้นย่อมก่อให้เกิดความผิดพลาดหรือความซ้ำซ้อน และอาจทำให้การทำงานเป็นไปอย่างล่าช้า ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลหรือ Health Information System (HIS) จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่เข้ามาช่วยให้การทำงานภายในโรงพยาบาลเป็นเรื่องง่ายขึ้น แต่ระบบ HIS ที่เลือกใช้เมื่อนานมาแล้วนั้น อาจไม่ตอบโจทย์กับการทำงานในปัจจุบันอีกต่อไปแล้ว MEDcury จะพาไปดูกันว่าทำไมโรงพยาบาลถึงควรพิจารณาอัปเกรดระบบ HIS ใหม่ได้แล้ว 1. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล ตั้งแต่โรงพยาบาลมีการนำระบบ HIS เข้ามาใช้ ข้อมูลทั้งหมดของโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านการรักษาพยาบาล และข้อมูลด้านการบริหาร ก็จะถูกจัดเก็บเอาไว้ในระบบแทนการใช้แฟ้มเอกสาร ทำให้ง่ายต่อการค้นหา รวมไปถึงเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้และเข้าถึงข้อมูล ลดอัตราการเสียหายและสูญหายของข้อมูล แต่ทุกวันนี้การให้บริการทางการแพทย์นั้นมีบริการและนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปัญหาที่ตามมาคือระบบ HIS ที่ใช้งานอยู่ไม่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แม้จะมีวิธีการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอย่างการทำระบบในการจัดเก็บข้อมูลเสริมขึ้นมา หรือแม้แต่การกลับไปใช้ระบบเอกสารเพื่อเก็บข้อมูล แต่สุดท้ายข้อมูลในส่วนนี้ก็ไม่เชื่อมต่อเป็นระบบเดียวกันอย่างที่ควรจะเป็นอยู่ดี การอัปเกรดระบบ HIS ใหม่จึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนมากกว่านั่นเอง 2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรของโรงพยาบาล เมื่อข้อมูลทุกอย่างถูกจัดเก็บบนระบบเดียวกัน (Single Source of Truth) แล้ว บุคลากรจึงไม่จำเป็นต้องมาเสียเวลามากมายไปกับการค้นหาข้อมูลจากเอกสาร หรือแหล่งอื่น ๆ แบบ Manual อีกต่อไป ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีเวลาใส่ใจงานอื่น ๆ ที่มีคุณค่ามากขึ้น นอกจากนี้ด้วยระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน เจ้าหน้าที่ในแต่ละแผนกของโรงพยาบาลจึงมองเห็นภาพรวมหรือมีทิศทางการทำงานที่ตรงกัน สามารถสื่อสารและประสานงานกันได้เป็นอย่างดี นำไปสู่ระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ 3. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานโรงพยาบาล เพราะข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารทั้งหมด เช่น ข้อมูลด้านบุคลากร จำนวนผู้มาใช้บริการ รายรับ-รายจ่าย คลังยา คลังวัสดุอุปกรณ์ ข้อมูลเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น จะถูกสรุปออกมาจากฐานข้อมูลชุดเดียวกัน ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดแหล่งเดียวที่ถูกบันทึกไว้ จึงไม่สร้างความสับสนแก่คนในองค์กร และผู้บริหารสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบในการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์ การดำเนินงานต่าง ๆ และจัดเตรียมทรัพยากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ 4. เพิ่มคุณภาพการบริการให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการ เมื่อโรงพยาบาลมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ผู้บริหารได้วางกลยุทธ์เป็นอย่างดี เจ้าหน้าที่แต่ละแผนกสามารถประสานงานกันได้อย่างไร้รอยต่อ สิ่งเหล่านี้ล้วนนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่สำคัญนั่นก็คือคุณภาพการบริการที่ดีให้แก่ผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะได้รับทั้งความสะดวกสบายและการรักษาที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมโรงพยาบาลถึงควรหันกลับมาพิจารณาว่าระบบ HIS ที่ใช้อยู่นั้นตอบสนองกับรูปแบบการให้บริการใหม่ ๆ ในปัจจุบัน และความต้องการของผู้รับบริการที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังเข้ามาแล้วหรือยัง MEDcury ผู้พัฒนาระบบ MEDHIS ที่ MEDcury เราได้พัฒนา MEDHIS ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลที่สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบ On-Cloud และ On-Premise เพื่อรองรับความยืดหยุ่นและการทำงานผ่านออนไลน์ในยุคดิจิทัล รวมถึงรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลจากต่างสาขา และการเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับระบบหรือฐานข้อมูลอื่น ๆ ทั้งจากหน่วยงานรัฐและเอกชน สนใจนำระบบ MEDHIS เข้ามาใช้ในองค์กรของคุณ? สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่ โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์) อีเมล : sales@medcury.health  หรือกรอกแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น Facebook : facebook.com/medcury.health/ LinkedIn : linkedin.com/company/medcury YouTube : https://www.youtube.com/@MEDcury

  • หลักการ 3E : การเริ่มใช้ AI ของโรงพยาบาลในยุคดิจิทัล

    วันนี้ MEDcury เลยจะพาคุณไปดูว่าถ้าต้องการนำ AI เข้ามาใช้ในสถานพยาบาลด้วยหลักการ 3E จะต้องทำอย่างไรบ้างในบทความนี้ ตามมาดูกันเลย! Stage 1 : Explore คุณจะต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าคุณต้องการอะไร อะไรที่คุณต้องการพัฒนาให้ดีขึ้น หรือ MEDcury มีวิธีที่ง่ายกว่านั้นคือการสำรวจคู่แข่งและ Benchmarking ด้วยการถามและตอบ 4 คำถาม ดังนี้ (1) คุณกำลังยืนอยู่ ณ จุดไหนของวงการดูแลสุขภาพ? (2) องค์กรใดที่เชี่ยวชาญเรื่องการใช้เทคโนโลยี AI ในการดูแลสุขภาพหรือการทำงานมากที่สุด? (3) องค์กรนั้นทำอย่างไร? (4) เราจะทำให้ดีกว่าเขาได้อย่างไร? หากคุณตอบคำถามเหล่านี้ได้ นั่นแสดงถึงนิมิตหมายอันดีสำหรับการนำ AI เข้ามาใช้ในสถานพยาบาล แต่นั่นยังไม่พอหรอกนะ คุณต้องไม่ลืมที่จะทำความรู้จักและเข้าใจเทคโนโลยี AI เพิ่มขึ้นด้วยการค้นหาข้อมูลผ่านแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และหารือกับหุ้นส่วนทางธุรกิจในวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเงิน การจัดการ และการตลาด เป็นต้น แล้วเริ่มต้นโปรเจ็ค AI ด้วยการพูดคุยปรึกษากับคู่ค้า (Vendor) ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI โดยเฉพาะ เพื่อสอบถามถึงความเป็นไปได้ และดำเนินการพัฒนา AI นั้น Stage 2 : Expose เมื่อ AI ที่พัฒนาเริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ลองนำ AI นั้นมาให้บุคลากรในแผนกที่เกี่ยวข้องได้ลองใช้ก่อน ที่สำคัญคืออย่าลืมที่จะถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานจริงนี้ด้วย เพราะสิ่งนี้มีผลต่อการปรับปรุงและพัฒนา AI ให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ในขั้นนี้นอกจากองค์กรจะได้รู้ถึงประสิทธิภาพในการทำงานของ AI แล้ว ยังเป็นโอกาสที่บุคลากรในองค์กรจะได้เรียนรู้ เข้าใจ และปรับตัวให้เข้ากับ AI ได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย Stage 3 : Experience & Scale Up หาก AI ตัวต้นแบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว คุณก็สามารถขยายผลนำ AI นี้ไปใช้ในแผนกอื่น ๆ ต่อได้ นอกจากนี้บุคลากรที่ได้ทำงานร่วมกับ AI มาก่อนแล้วนั้นถือเป็นบุคคลสำคัญขององค์กรที่จะช่วยบอกต่อ Best Practice ในการทำงานร่วมกับ AI ให้กับคนอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อการนำ AI ไปใช้จริงทั่วทั้งองค์กรอีกด้วย สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่ โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์) อีเมล : sales@medcury.health  หรือกรอกแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น Facebook : facebook.com/medcury.health/ LinkedIn : linkedin.com/company/medcury YouTube : https://www.youtube.com/@MEDcury

  • อนาคตของ Telemedicine: แนวทางและโอกาสใหม่หลังโควิด-19

    Telemedicine กลายเป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ จนคุ้นหูในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่อย่างโควิด-19 ที่ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งหันมาหนุนนำบริการทางการแพทย์ในรูปแบบใหม่นี้มาใช้ในการรักษา เพื่อสอดรับกับความปกติใหม่ (New Normal) ที่เกิดขึ้น แต่ก็มีคำถามที่น่าสนใจว่า Telemedicine จะเป็นอย่างไรต่อไปในยุคหลังโควิด-19 เราจะมาเล่าให้ฟัง Telemedicine คืออะไร Telemedicine หรือโทรเวชกรรม คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพูดคุยเพื่อรับคำปรึกษาและการวินิจฉัยจากแพทย์ผ่านระบบ VDO Conference บนแอปพลิเคชันได้แบบ Real-Time COVID-19 ตัวเร่งเทรนด์ Telemedicine สถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น มาตรการล็อกดาวน์ การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนนำมาสู่ความแออัดในโรงพยาบาล เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้ Telemedicine กลายเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น และเข้ามามีบทบาทในชีวิตคนเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ Telemedicine เป็นทางเลือกใหม่ในการรับบริการทางการแพทย์ที่ไร้ข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ ซึ่งตอบโจทย์กับวิกฤตครั้งนี้มากที่สุด โดยผลสำรวจประเมินมูลค่าตลาดโลกของ Telemedicine ของ BIS Research พบว่าในปี 2019 ตลาดนี้มีมูลค่า 2.16 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าในปี 2026 มูลค่าตลาดนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 6.53 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 12.7% โดยเฉพาะตลาดเอเชีย-แปซิฟิกที่มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นมากที่สุด ทั้งนี้มูลค่าตลาด Telemedicine ของประเทศไทยก็เติบโตสอดคล้องกับเทรนด์ของตลาดโลกเช่นกัน Next Normal ของ Telemedicine หลังวิกฤต COVID-19 หลาย ๆ ท่านคงสงสัยกันว่าในเมื่อ Telemedicine บูมขึ้นมาได้เพราะโควิด แล้วอนาคตหลังจบโควิดแล้ว Telemedicine จะยังสามารถไปต่อได้หรือไม่ MEDcury ขอยกผลสำรวจจาก Mckinsey มาอ้างอิง ผลสำรวจนี้ได้ชี้ว่าจำนวนผู้ใช้งาน Telemedicine ในสหรัฐฯ นั้นพุ่งสูงขึ้นถึง 38 เท่าในช่วงโควิด-19 แต่ก็สามารถทรงตัวในระดับดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–19 ได้แล้ว นอกจากนี้ผลการสำรวจยังได้ระบุว่าแพทย์และคนไข้มีระดับความพึงพอใจจากการใช้งาน Telemedicine ที่สูงถึง 64% และ 74% ตามลำดับ และมีแนวโน้มที่จะใช้บริการแพลตฟอร์มดังกล่าวต่อไปในอนาคต ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมในการใช้ Telemedicine ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร อย่างไรก็ตามการให้บริการ Telemedicine คงไม่ได้มาทดแทนการพบแพทย์ในรูปแบบเดิมซะทีเดียว เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในหลายด้าน เช่น ความไม่คุ้นเคยของแพทย์ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้คำปรึกษาออนไลน์ ความจำเป็นในการใช้เครื่องมือ หรือหัตถการ หรือตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ระบบโทรคมนาคมที่ยังไม่ครอบคลุม แต่การมี Telemedicine จะช่วยเสริมศักยภาพในการรักษาพยาบาลได้ โดยเฉพาะในการแพทย์บางสาขาที่ไม่จำเป็นต้องทำหัตถการ เช่น ผิวหนัง จิตเวช เป็นต้น รวมไปถึงการติดตามอาการ หรือติดตามผลตรวจ ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางมาโรงพยาบาล เพียงแค่ใช้ Telemedicine ก็สามารถรับคำปรึกษาหรือผลตรวจต่าง ๆ ผ่านทางออนไลน์ และซื้อยาตามใบสั่งยาจากแพทย์หรือรอรับยาที่บ้านได้เลย ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ทั่วถึงมากขึ้น และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการเดินทางได้ รวมทั้งยังช่วย​​ลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลอีกด้วย นอกจากนี้เราสามารถขยายขอบเขตของบริการ Telemedicine ให้เป็นมากกว่าแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ยกตัวอย่างเช่น “ตู้ One Minute Clinic” ของ Ping An Good Doctor ที่ให้บริการแล้วทั่วทั้ง 8 มณฑลในประเทศจีน โดยตู้ให้บริการ Telemedicine นี้สามารถให้คำปรึกษาและตอบคำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคทั่วไปถึง 2,000 โรค โดยใช้ AI วินิจฉัยด้วยการวัดชีพจรและสอบถามข้อมูลต่าง ๆ พร้อมทั้งมีการจ่ายยาแก่ผู้ป่วย โดยมียากว่าร้อยชนิดให้บริการ หากไม่พบยาที่ต้องการ ผู้ป่วยก็สามารถสั่งจากแอปพลิเคชันเพื่อขอรับยาที่คลินิกใกล้บ้านหรือจัดส่งถึงบ้านภายใน 1 ชั่วโมง และตู้คลินิกนี้ยังมีการเก็บประวัติของผู้ป่วยเพื่อใช้ในการรักษา โดยเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับระบบ Health Information System (HIS) ของคลินิกและโรงพยาบาลมากกว่า 3,000 แห่ง เพื่อส่งต่อผู้ป่วยในกรณีที่ประเมินว่าเป็นโรคร้ายแรงอีกด้วย สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่ โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์) อีเมล : sales@medcury.health  หรือกรอกแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น Facebook : facebook.com/medcury.health/ LinkedIn : linkedin.com/company/medcury YouTube : https://www.youtube.com/@MEDcury   อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/columns/news-717825 https://www.tiscowealth.com/article/innovative-healthcare/Telemedicine-Platform.html https://www.finnomena.com/bottomliner/ping-an-good-doctor/ https://www.unlockmen.com/demi-sathu49-by-sansiri

  • สร้างโรงพยาบาลสีเขียว! กับ 3 เทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    หนึ่งในเทรนด์โลกที่ถูกคาดการณ์ไว้คือเทรนด์ Sustainability, Eco-friendly และ Climate-friendly ซึ่งหลาย ๆ องค์กรในประเทศต่าง ๆ ก็ได้เริ่มดำเนินการกันไปแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าเทรนด์นี้ไม่ใช่แค่เทรนด์ปีหน้าที่จะอยู่แค่ชั่วคราวเท่านั้น แต่จะเป็นเทรนด์แห่งโลกอนาคตเลยทีเดียว แล้วธุรกิจโรงพยาบาลจะสามารถตามเหล่านี้เทรนด์นี้ได้อย่างไร วันนี้ MEDcury จะมาแชร์ 3 แนวทางพาโรงพยาบาล Go Green อย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1. Digitization : เปลี่ยนข้อมูล Analog ให้เป็นข้อมูล Digital Digitization คือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในรูปแบบกายภาพหรือ Analog ให้เป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลแทน เช่น การเปลี่ยนภาพถ่ายให้เป็นไฟล์ภาพ การเปลี่ยนเอกสารกระดาษให้เป็นไฟล์ดิจิทัล เป็นต้น ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นการลดการใช้กระดาษและลดปริมาณการสร้างขยะได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในธุรกิจโรงพยาบาล ที่มีข้อมูลที่น่าตกใจจาก CynergisTek ว่าโรงพยาบาลขนาดเฉลี่ย 1,500 เตียงนั้นมีการใช้เอกสารกระดาษมากกว่า 8 ล้านหน้าต่อเดือน ซึ่งถือเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว 2. Digitalization : ใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน (Workflow) Digitalization คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน (Workflow) ต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้โรงพยาบาลได้รับประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) และเพิ่มความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ที่อาจมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ รวมถึงเป็นการลดการใช้ทรัพยากรและค่าใช้จ่ายอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เทคโนโลยีเพื่อการทำ Digitalization ภายในโรงพยาบาล มีเทคโนโลยีมากมายที่โรงพยาบาลสามารถนำมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น 1. การใช้ Electronic Medical Record (EMR) แทนการใช้เวชระเบียนกระดาษ คลิกเพื่ออ่านบทความต่อเกี่ยวกับ "EMR กับ EHR ต่างกันอย่างไร " 2. การใช้ Health Information System (HIS) เพื่อจัดเก็บและจัดการข้อมูลของทั้งโรงพยาบาลแบบครบวงจรบนระบบดิจิทัล คลิกเพื่ออ่านบทความต่อเกี่ยวกับ " 4 เหตุผลที่โรงพยาบาลควรอัปเกรดระบบ Hospital Information System (HIS) " 3. การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลโดยใช้ Health Information Exchange (HIE) คลิกเพื่ออ่านบทความต่อเกี่ยวกับ " ระบบ HIE ในโรงพยาบาล: อนาคตของการจัดการข้อมูลในโรงพยาบาล " 4. การให้บริการผ่าน Telemedicine เพื่อลดข้อจำกัดด้านสถานที่ คลิกเพื่ออ่านบทความต่อเกี่ยวกับ " Telehealth กับ Telemedicine ต่างกันอย่างไร? " นอกจากประโยชน์ที่ได้กล่าวถึงในข้างต้นแล้ว การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ยังสามารถเพิ่มความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการ และช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโรงพยาบาลทั้งในแง่ของการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังทันสมัยอีกด้วย 3. Cloud Computing : เก็บข้อมูลไว้บนก้อนเมฆ Cloud Computing คือ ระบบเก็บข้อมูลและประมวลผลระบบสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งานจึงสามารถใช้งานได้ตามต้องการ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ อุปกรณ์ ปริมาณ หรือเวลา นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราเรียกว่า Cloud เพราะเราเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้อยู่ใกล้ตัวเรา แต่อาจจะอยู่ห่างไกลกันออกไปคนละซีกโลกเลยก็ว่าได้ เปรียบเสมือนข้อมูลนั้นอยู่บนก้อนเมฆนั่นเอง หนึ่งในเทคโนโลยีของ Cloud Computing ที่จะช่วยพาโรงพยาบาล Go Green ได้นั่นก็คือ HIS On Cloud หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยโรงพยาบาลได้อย่างไร เราอยากให้ลองนึกถึงปริมาณไฟฟ้าที่คุณต้องใช้เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์ HIS On-Premise ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงแสงสว่าง และเครื่องปรับอากาศเพื่อให้ทุกอย่างอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม แน่นอนว่าไฟฟ้าที่ถูกใช้นั้นมีปริมาณมหาศาล แต่สำหรับ HIS On Cloud นั้นโรงพยาบาลไม่จำเป็นต้องติดตั้งทั้ง Software และ Hardware เอง พอไม่มีของพวกนี้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า หรือถ้ามี ก็มีในปริมาณที่น้อยลง ทำให้คุณใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยลงไปด้วย นั่นจึงทำให้คุณสามารถพาโรงพยาบาล Go Green ได้ตามเป้าหมาย นอกจากนี้ HIS On Cloud ยังสามารถช่วยโรงพยาบาลลดต้นทุนแฝงในหลาย ๆ ด้านได้ เช่น ต้นทุนในบริหารจัดการด้านบุคคลเพื่อรับผิดชอบในงานดูแลบำรุงรักษาระบบ และต้นทุนในการบริหารทรัพยากรอื่น ๆ เช่น พลังงานไฟฟ้า สถานที่ เป็นต้น โดยจากข้อมูลของ Microsoft Corporation และ WSP Global Inc. ระบุว่าการใช้ Cloud Computing นั้นช่วยประหยัดพลังงานกว่าศูนย์ข้อมูลแบบ On-Premise มากถึง 93% เลยทีเดียว นอกจากนี้ผลวิจัยจาก Berkeley Lab และ Northwestern University ก็พูดในทำนองเดียวกันว่าธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนด้านพลังงานได้มากถึง 60% - 85% เมื่อเปลี่ยนมาใช้ Cloud-based Services แทนอีกด้วย สร้างโรงพยาบาลสีเขียวไม่ได้ไกลเกินเอื้อม! เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ 3 แนวทางที่เรานำมาฝาก หวังว่าทุกคนจะลองนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมเข้ามาใช้เพื่อช่วยให้เราสามารถใช้พลังงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับโลกไปพร้อม ๆ กัน เพื่อช่วยทำให้โลกของเราดีขึ้น แล้วมาสร้าง Green Ecosystem ให้สมบูรณ์แบบอย่างยั่งยืนไปด้วยกันนะ สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่ โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์) อีเมล : sales@medcury.health  หรือกรอกแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น Facebook : facebook.com/medcury.health/ LinkedIn : linkedin.com/company/medcury YouTube : https://www.youtube.com/@MEDcury

bottom of page