top of page

OPD และ IPD คืออะไร ? ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศโรงพยาบาล

  • รูปภาพนักเขียน: Thitima Bunthoeng
    Thitima Bunthoeng
  • 3 วันที่ผ่านมา
  • ยาว 2 นาที

อัปเดตเมื่อ 1 วันที่ผ่านมา

เข้าใจความหมายของคำว่า OPD และ IPD ในบริบทของสถานพยาบาล ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ

หากเคยมองหากรมธรรม์ประกันสุขภาพสักเล่ม คงคุ้นตากับคำว่า OPD (โอ-พี-ดี) หรือ IPD (ไอ-พี-ดี) อยู่บ้าง แต่รู้หรือเปล่า ? ว่าในมุมมองของการให้บริการภายในสถานพยาบาลจะมีความหมายที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? 


เมดคิวรีจะชวนทำความรู้จักสองคำนี้ให้มากขึ้น ก่อนเข้าสู่เนื้อหาว่ารูปแบบการให้บริการในสถานพยาบาลสามารถจำแนกด้วย OPD และ IPD ได้ในรูปแบบไหน ? และมีการดำเนินงานภายในสถานพยาบาลที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? 


Table of Contents


OPD ย่อมาจาก Out Patient Department หรือแผนกผู้ป่วยนอก โดยในบริบทของสถานพยาบาลนั้นสามารถจำแนกผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการติดต่อกันไม่เกิน 6 ชั่วโมง และสามารถกลับบ้านได้โดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลนั่นเอง

OPD คืออะไร ?

OPD ย่อมาจาก Out-Patient Department หมายถึงแผนกผู้ป่วยนอก เป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ที่ใช้เรียกผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลที่เข้ารับบริการติดต่อกันไม่เกิน 6 ชั่วโมง หรือเรียกว่าเป็นผู้ป่วยที่สามารถกลับบ้านได้โดยไม่จำเป็นต้องแอดมิตโรงพยาบาลนั่นเอง เช่น การรักษาทั่วไป การรักษาฟื้นฟู การรักษาแบบนอนรอดูผลข้างเคียง หรือการผ่าตัดเล็กแบบไม่ต้องพักฟื้น เป็นต้น


ตัวอย่างการให้บริการแบบ OPD ในสถานพยาบาล

A รู้สึกไม่สบายเพราะมีอาการเจ็บคอและมีน้ำมูก จึงเดินทางไปโรงพยาบาลและลงทะเบียนที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) แพทย์วินิจฉัยว่า A เป็นไข้หวัดธรรมดา สามารถรับประทานยาและเฝ้าดูอาการที่บ้านได้ A จึงรับยา ชำระเงินและกลับบ้านไปพักผ่อนตามคำแนะนำของแพทย์


IPD ย่อมาจาก In Patient Department หรือแผนกผู้ป่วยในโดยในบริบทของสถานพยาบาลนั้นสามารถจำแนกผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และจำเป็นต้องเข้ารับรักษาหรือการแอดมิต

IPD คืออะไร ?

IPD ย่อมาจาก In-Patient Department หมายถึงแผนกผู้ป่วยใน ใช้จำแนกกลุ่มของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาภายในสถานพยาบาลไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาหรือเรียกว่าการแอดมิต (Admit) โดยการเปลี่ยนสถานะจากผู้ป่วยนอกเป็นผู้ป่วยใน จะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ร่วมกัน


ตัวอย่างการให้บริการแบบ IPD ในสถานพยาบาล

B รู้สึกไม่สบาย เพราะมีไข้สูงและหนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว จึงเดินทางไปโรงพยาบาลและลงทะเบียนที่แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) แพทย์วินิจฉัยว่า B เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ที่สามารถแพร่เชื้อได้ แพทย์จึงตัดสินใจให้ B แอดมิทและเข้ารับการรักษาตัวในแผนกผู้ป่วยใน (IPD) เพื่อดูอาการอย่างใกล้ชิด


สรุป OPD และ IPD คืออะไร?

รูปแบบการให้บริการ

OPD ภายในสถานพยาบาล

IPD ในสถานพยาบาล

ระยะเวลาการรับบริการ

  • รักษาติดต่อกันไม่เกิน 6 ชั่วโมง 

  • ไม่จำเป็นต้องแอดมิต

  • รักษาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง 

  • จำเป็นต้องแอดมิต

ประเภทการรักษา

  • การผ่าตัดเล็ก

  • การรักษาทั่วไป 

  • การรักษาฟื้นฟู 

  • การติดตามการรักษา ฯลฯ

  • การผ่าตัดแบบนอนพักฟื้น 

  • การผ่าคลอด

  • การดูแลผู้ป่วยวิกฤต ฯลฯ

สถานพยาบาลที่รองรับได้

สถานพยาบาลทุกขนาด

สถานพยาบาลขนาดกลาง-ใหญ่

ระบบที่สามารถรองรับได้

  • ระบบ CIS

  • ระบบ CMS

  • โปรแกรมบริหารจัดการคลินิก 

  • ระบบ ERP

  • ระบบ CRM ฯลฯ

  • ระบบ HIS

  • ระบบ HIE

  • ระบบ ERP

  • ระบบ CRM ฯลฯ

จำนวนชั่วโมง จึงถือเป็นเกณฑ์ในการจำแนกประเภทผู้ป่วยและรูปแบบการรักษาภายในสถานพยาบาลให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยความหมายดังกล่าวของคำว่า OPD และ IPD ยังถูกนำไปใช้ในบริบทอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน นอกเหนือจากธุรกิจสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจประกันสุขภาพ ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ 


รวมถึงธุรกิจด้านซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีสุขภาพอย่างระบบ MEDHIS จากบริษัท MEDcury ที่ให้บริการระบบสารสนเทศโรงพยาบาลในประเทศไทยที่มีจุดเด่นของการใช้งานที่รองรับรูปแบบการให้บริการทั้ง OPD และ IPD เป็นต้น


หน้าตาของระบบ MEDHIS ที่สามารถรองรับรูปแบบการให้บริการภายในสถานพยาบาลตั้งแต่ OPD ถึง IPD ด้วยจุดเด่นของการใช้งานแบบ web-based ที่เป็น responsive design สามารถเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

รูปแบบการให้บริการของสถานพยาบาล

สำหรับธุรกิจสถานพยาบาลมักออกแบบการให้บริการ โดยยึด OPD เป็นอันดับแรกเสมอ ตามมาด้วยการให้บริการแบบ IPD ที่เป็นปัจจัยประกอบการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นจำนวนห้องตรวจ จำนวนห้องผ่าตัด จำนวนเตียง ฯลฯ เพื่อกำหนดขนาดของสถานพยาบาลให้ตรงกับความต้องการด้านธุรกิจ โดยปัจจุบันเราสามารถแบ่งรูปแบบการให้บริการของสถานพยาบาลได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้


  1. สถานพยาบาลขนาดเล็ก

เน้นการให้บริการผู้ป่วยแบบไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้น (OPD Clinics) โดยสถานพยาบาลประเภทนี้จะมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคลและจำนวนผู้ป่วยที่ใช้บริการต่อวัน และมักเน้นการให้บริการเฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลินิกผิวหนัง คลินิกหูคอจมูก คลินิกสุขภาพจิต หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นต้น


  1. สถานพยาบาลขนาดกลาง

ด้วยศักยภาพที่สามารถรองรับการผ่าตัดขนาดเล็กและการพักฟื้นระยะสั้นหรือการให้บริการแบบ IPD จึงทำให้สถานพยาบาลขนาดกลางมีความสามารถในการขยายธุรกิจสูงกว่าขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นการขยายเป็นขนาดที่ใหญ่ขึ้น หรือการขยายสาขาออกไปตามพื้นที่หรือจังหวัดอื่น ๆ 


ในทางกลับกัน หากเทียบกับสถานพยาบาลขนาดใหญ่แล้ว ขีดความสามารถที่เพิ่มเข้ามานี้กลับกลายเป็นข้อจำกัดในการให้บริการอยู่บางส่วน เช่น จำนวนเตียงที่น้อยกว่า จำนวนบุคลากรหรือแพทย์ที่อาจไม่เพียงพอ สาขาเฉพาะทางหรืออุปกรณ์การแพทย์ที่มีจำกัด เป็นต้น


  1. สถานพยาบาลขนาดใหญ่หรือสถานพยาบาลเฉพาะทาง

ด้วยรูปแบบการให้บริการและแผนกที่มีแพทย์เฉพาะทางหลากหลาย พร้อมทั้งอุปกรณ์การรักษาที่ครบครันและจำนวนเตียงหรือห้องผ่าตัดที่ให้บริการผู้ป่วยได้มากขึ้น ทำให้ศักยภาพของสถานพยาบาลขนาดใหญ่นี้ถือเป็นการดำเนินงานที่ครบวงจรมากที่สุด โดยรองรับการส่งต่อผู้ป่วยจากคลินิกหรือโรงพยาบาลอื่น ๆ เข้ามารักษาต่อได้อีกด้วย


สรุป 3 รูปแบบการให้บริการภายในสถานพยาบาล ไม่ว่าจะเป็น สถานพยาบาลขนาดเล็กหรือ OPD Clinics สถานพยาบาลขนาดกลางและใหญ่ ที่รองรับการให้บริการแบบ IPD เพิ่มเข้ามา

จะเห็นได้ว่า ความครบครันของการให้บริการภายในสถานพยาบาล ที่มีทั้งรูปแบบ OPD และ IPD นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สะท้อนถึงศักยภาพและความพร้อมในการให้บริการที่ครอบคลุมตามความต้องการของผู้ป่วยที่หลากหลายมากขึ้น 


อย่างไรก็ตาม รูปแบบการบริการที่ครบครันเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอให้สถานพยาบาลตอบโจทย์การให้บริการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น การมีระบบ Workflow ที่เชื่อมโยงแผนกต่าง ๆ ภายในสถานพยาบาลให้ทำงานร่วมกันได้อย่างครบวงจร จึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้สถานพยาบาลสามารถให้บริการทั้งรูปแบบ OPD/IPD อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย


การเลือก 'ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล' ต้องคำนึงถึงเรื่องอะไร ?

เพราะข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยที่มีความอ่อนไหว และความคาดหวังของผู้ป่วยในการเข้ารับบริการที่มากขึ้น การมองหาผู้ให้บริการ ‘ระบบบริหารจัดการสถานพยาบาล’ ที่มีประสบการณ์ จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารหรือ ผอ.โรงพยาบาลต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารระหว่างแผนกและการเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยให้เป็นเครือข่ายตั้งแต่การให้บริการแบบ OPD ไปจนถึง IPD ภายในสถานพยาบาลได้อย่างราบรื่นที่สุด


ปัจจุัยที่ผู้บริหารหรือ ผอ. โรงพยาบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการมองหาระบบสารสนเทศโรงพยาบาลสักหนึ่งตัวให้กับสถานพยาบาล คือการคัดเลือกผู้ให้บริการระบบบริหารจัดการสถานพยาบาลที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในระบบสารสนเทศและระบบสารธารณสุข

ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลจาก MEDcury

MEDHIS ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลจากผู้ผลิตและพัฒนาระบบให้แก่สถานพยาบาลมากกว่า 30 แห่งในประเทศ รองรับการให้บริการทั้งรูปแบบ OPD และ IPD ด้วยจำนวนโมดูลที่ครอบคลุมตามมาตรฐานการดำเนินงานแต่ละแผนกในสถานพยาบาล 


ความเชี่ยวชาญของทีมงานที่คร่ำหวอดในวงการสาธารณสุข และสั่งสมประสบการณ์การติดตั้งระบบโรงพยาบาลให้สถานพยาบาลมายาวนานกว่าทศวรรษ เรามุ่งมั่นที่จะนำพาระบบสาธารณสุขไทยสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการบริหารจัดการข้อมูลด้วยระบบที่ได้มาตรฐานและการเชื่อมต่อระบบการทำงานอย่างครบวงจร


ระบบ MEDHIS ตอบโจทย์ทุกความต้องการของโรงพยาบาล ด้วยจำนวนโมดูลที่รองรับทั้ง OPD และ IPD อย่างครบครัน พร้อมเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนด้านระบบสารสนเทศให้กับโรงพยาบาลเพื่อมุ่งสู่อนาคตของการเป็น Smart Hospital

ด้วยหน้าตาและประสบการณ์การใช้งานภายในระบบที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่พยาบาล แพทย์ เจ้าหน้าที่แล็บ ผู้ดูแลระบบ ฯลฯ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารทรัพยากรและการให้บริการผ่านระบบที่เสถียรและมีมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วย


ให้การบริหารจัดการข้อมูลภายในสถานพยาบาลราบรื่นแบบไร้รอยต่อ มุ่งสู่ความพร้อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศในอนาคตอันใกล้ ท่านใดที่สนใจปรึกษาระบบสารสนเทศโรงพยาบาล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญของ MEDcury ได้ที่


โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)

อีเมล : sales@medcury.health


ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น


bottom of page