top of page

4 เหตุผลที่โรงพยาบาลควรอัปเกรดระบบ Hospital Information System (HIS)

เพราะโรงพยาบาลเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาลเอาไว้ แน่นอนว่าการเก็บข้อมูลแบบ Manual นั้นย่อมก่อให้เกิดความผิดพลาดหรือความซ้ำซ้อน และอาจทำให้การทำงานเป็นไปอย่างล่าช้า


ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลหรือ Health Information System (HIS) จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่เข้ามาช่วยให้การทำงานภายในโรงพยาบาลเป็นเรื่องง่ายขึ้น แต่ระบบ HIS ที่เลือกใช้เมื่อนานมาแล้วนั้น อาจไม่ตอบโจทย์กับการทำงานในปัจจุบันอีกต่อไปแล้ว MEDcury จะพาไปดูกันว่าทำไมโรงพยาบาลถึงควรพิจารณาอัปเกรดระบบ HIS ใหม่ได้แล้ว


1. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล

ตั้งแต่โรงพยาบาลมีการนำระบบ HIS เข้ามาใช้ ข้อมูลทั้งหมดของโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านการรักษาพยาบาล และข้อมูลด้านการบริหาร ก็จะถูกจัดเก็บเอาไว้ในระบบแทนการใช้แฟ้มเอกสาร ทำให้ง่ายต่อการค้นหา รวมไปถึงเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการใช้และเข้าถึงข้อมูล ลดอัตราการเสียหายและสูญหายของข้อมูล


แต่ทุกวันนี้การให้บริการทางการแพทย์นั้นมีบริการและนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ปัญหาที่ตามมาคือระบบ HIS ที่ใช้งานอยู่ไม่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แม้จะมีวิธีการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุอย่างการทำระบบในการจัดเก็บข้อมูลเสริมขึ้นมา หรือแม้แต่การกลับไปใช้ระบบเอกสารเพื่อเก็บข้อมูล


แต่สุดท้ายข้อมูลในส่วนนี้ก็ไม่เชื่อมต่อเป็นระบบเดียวกันอย่างที่ควรจะเป็นอยู่ดี การอัปเกรดระบบ HIS ใหม่จึงเป็นการเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนมากกว่านั่นเอง


2. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรของโรงพยาบาล

เมื่อข้อมูลทุกอย่างถูกจัดเก็บบนระบบเดียวกัน (Single Source of Truth) แล้ว บุคลากรจึงไม่จำเป็นต้องมาเสียเวลามากมายไปกับการค้นหาข้อมูลจากเอกสาร หรือแหล่งอื่น ๆ แบบ Manual อีกต่อไป ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีเวลาใส่ใจงานอื่น ๆ ที่มีคุณค่ามากขึ้น


นอกจากนี้ด้วยระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน เจ้าหน้าที่ในแต่ละแผนกของโรงพยาบาลจึงมองเห็นภาพรวมหรือมีทิศทางการทำงานที่ตรงกัน สามารถสื่อสารและประสานงานกันได้เป็นอย่างดี นำไปสู่ระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ


3. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานโรงพยาบาล

เพราะข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารทั้งหมด เช่น ข้อมูลด้านบุคลากร จำนวนผู้มาใช้บริการ รายรับ-รายจ่าย คลังยา คลังวัสดุอุปกรณ์ ข้อมูลเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น จะถูกสรุปออกมาจากฐานข้อมูลชุดเดียวกัน ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดแหล่งเดียวที่ถูกบันทึกไว้ จึงไม่สร้างความสับสนแก่คนในองค์กร และผู้บริหารสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปประกอบในการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์ การดำเนินงานต่าง ๆ และจัดเตรียมทรัพยากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้


4. เพิ่มคุณภาพการบริการให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการ

เมื่อโรงพยาบาลมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ผู้บริหารได้วางกลยุทธ์เป็นอย่างดี เจ้าหน้าที่แต่ละแผนกสามารถประสานงานกันได้อย่างไร้รอยต่อ สิ่งเหล่านี้ล้วนนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่สำคัญนั่นก็คือคุณภาพการบริการที่ดีให้แก่ผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะได้รับทั้งความสะดวกสบายและการรักษาที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น


และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมโรงพยาบาลถึงควรหันกลับมาพิจารณาว่าระบบ HIS ที่ใช้อยู่นั้นตอบสนองกับรูปแบบการให้บริการใหม่ ๆ ในปัจจุบัน และความต้องการของผู้รับบริการที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังเข้ามาแล้วหรือยัง


MEDcury ผู้พัฒนาระบบ MEDHIS

ที่ MEDcury เราได้พัฒนา MEDHIS ระบบสารสนเทศโรงพยาบาลที่สามารถติดตั้งได้ทั้งแบบ On-Cloud และ On-Premise เพื่อรองรับความยืดหยุ่นและการทำงานผ่านออนไลน์ในยุคดิจิทัล รวมถึงรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลจากต่างสาขา และการเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับระบบหรือฐานข้อมูลอื่น ๆ ทั้งจากหน่วยงานรัฐและเอกชน



สนใจนำระบบ MEDHIS เข้ามาใช้ในองค์กรของคุณ?


สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่


  • โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)

  • อีเมล : sales@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มคลิกที่นี่


ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น



Comments


bottom of page