top of page

9 ปัญหาที่ตามมาจากลายมือหมออ่านยาก พร้อมวิธีแก้ไขให้อยู่หมัด

9 ปัญหาที่ตามมาจากลายมือหมออ่านยาก พร้อม 3 วิธีแก้ไขให้อยู่หมัดด้วยระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์

คุณเคยเห็นไวรัลบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับลายมือหมอในใบรายงานการตรวจ แล้วพยายามช่วยแกะลายมือนั้นบ้างไหม? นี่อาจดูเป็นเรื่องขำขันหรือท้าทาย แต่รู้หรือไม่ว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ตลกไม่ออกสำหรับหลาย ๆ คน เพราะลายมือหมอที่ยึก ๆ ยือ ๆ จนอ่านไม่ออกนี้ สร้างปัญหาให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นเพื่อนร่วมงาน รวมถึงตัวผู้ป่วยกันมานักต่อนัก


วันนี้ MEDcury ขอชวนทุกคนมาดู 9 ปัญหาที่ตามมาจากลายมือหมออ่านยาก พร้อมเผยสุดยอดวิธีแก้ไขปัญหานี้อย่างเด็ดขาด จะเป็นอย่างไร ตามมาอ่านได้ในบทความนี้เลย!


9 ปัญหาที่ตามมาจากลายมือหมออ่านยาก

9 ปัญหาที่ตามมาจากลายมือหมออ่านยาก ที่แก้ไขได้ด้วยการนำระบบสาราสนเทศโรงพยาบาลหรือ MEDHIS เข้ามาทำให้การดำเนินงานเป็น Paperless ลดการพึ่งพาเอกสารที่เขียนด้วยลายมือและลดการใช้กระดาษ

1. การรักษาผิดพลาด

การเขียนคำสั่งการแพทย์ต่าง ๆ หรือใบสั่งยาด้วยลายมือยึกยืออ่านยาก อาจนำไปสู่หายนะครั้งใหญ่ในการรักษาและจ่ายยา ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อผู้ป่วย


โดยความคลาดเคลื่อนในการวินิจฉัย การรักษา และการจ่ายยาที่เกิดขึ้นจากลายมือที่อ่านยากนี้มีมากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งจ่ายยาในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ยาผิดชนิด ผิดขนาดความแรงยา วิธีใช้ยาที่ผิด ผ่าตัดผิดคน ผ่าตัดผิดข้าง ผ่าตัดผิดตำแหน่ง ผ่าตัดผิดหัตถการ ตัวอย่างเช่น


  • บุคลากรทางการแพทย์เขียนเลข 1 แต่คนอ่านอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเลข 7

  • บุคลากรทางการแพทย์ลืมใส่จุดทศนิยม หรือเขียนชิดกันมากจนแยกไม่ออก จาก 1.0 ก็สามารถกลายเป็น 10 ได้ ส่งผลให้อาจสั่งจ่ายยาผิดพลาดเกินกว่าที่ตั้งใจไว้ 10 เท่าเลยทีเดียว

  • บุคลากรทางการแพทย์ทำการผ่าตัดก้อนเนื้อที่หน้าอกบริเวณด้านบน จากที่จริง ๆ ต้องผ่าตัดที่หน้าอกบริเวณด้านล่าง


2. กระทบการทำงานร่วมกันระหว่างแผนก

หลายคนคงเดาได้ไม่ยากว่าคนที่จะต้องอ่านลายมือยึกยือเหล่านี้และทำการถอดรหัสจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นเพื่อนร่วมงาน คนที่ทำงานด้วยกันมานานหลายปีอาจจะเคยชินบ้าง แต่บางคนก็ไม่สามารถทำความคุ้นชินกับลายมือแบบนี้ได้เลยสักครั้ง


อีกทั้งในแต่ละปีจะมีนักศึกษาแพทย์หน้าใหม่เข้ามาเรียนรู้งาน หรือแม้แต่มีบุคลากรย้ายมาใหม่หมุนเวียนไปมาอีก นี่จึงอาจเป็นการสร้างปัญหาให้เพื่อนร่วมงาน ซึ่งกระทบต่อการทำงานอื่น ๆ ด้วย เพราะเพื่อนร่วมงานต้องมาคอยเสียเวลาเพื่อแกะรหัสลายมือ หรือมีการถามซ้ำเพื่อตรวจสอบข้อมูล


3. ปริมาณงานเพิ่มขึ้น ใช้เวลาทำงานนานขึ้น

การเขียนด้วยลายมือที่อ่านยากนี้อาจนำไปสู่การสื่อสารที่ไม่ถูกต้อง ดังที่กล่าวไปว่าเพื่อนร่วมงานต้องยอมเสียเวลาเพื่อถอดรหัสลายมือ หรือถามซ้ำเพื่อตรวจสอบข้อมูล นี่จึงไม่ต่างอะไรกับงานที่เพิ่มขึ้น แถมยังต้องใช้เวลาทำงานนานมากขึ้นอีกด้วย


4. รักษาผู้ป่วยได้ล่าช้า

สภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลนั้นยุ่งวุ่นวายตลอดเวลา และทุกวินาทีล้วนมีค่า แต่เมื่อบุคลากรทางการแพทย์ทำงานได้ช้าลงแบบนี้ แน่นอนว่าสิ่งนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพการดูแลที่ผู้ป่วยได้รับ โดยเฉพาะในด้านระยะเวลารอคอย ทำให้เกิดความล่าช้าในการรักษาผู้ป่วย


นอกจากนี้ความเข้าใจผิดเนื่องจากลายมืออ่านไม่ออกนี้ยังอาจทำให้มีการสั่งการตรวจวินิจฉัยที่ไม่จำเป็นสำหรับอาการของผู้ป่วยอีกด้วย


5. ผู้ป่วยสับสนและไม่เข้าใจคำแนะนำในการใช้ยาและดูแลสุขภาพ

แม้ว่าผู้ป่วยบางรายได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลเสร็จสิ้นแล้ว แต่ส่วนใหญ่ก็ยังต้องกลับไปดูแลตนเองต่อหลังจากออกจากโรงพยาบาล


ซึ่งหลาย ๆ ครั้งผู้ป่วยมักมีปัญหาในการทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติตัว ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการรับประทานยา การดูแลบาดแผล การควบคุมอาหาร การทำกายภาพบำบัด และอื่น ๆ อีกมากมาย


หากเอกสารเหล่านี้ถูกเขียนด้วยลายมือที่อ่านยากก็เป็นการสร้างความสับสนให้แก่ผู้ป่วยได้ และอาจนำไปสู่ผลในแง่ลบในการดูแลและติดตามผล รวมถึงสุขภาพของผู้ป่วยโดยรวม


6. ผู้ป่วยเสี่ยงเกิดอาการไม่พึงประสงค์

การเขียนด้วยลายมือที่อ่านยากและไม่ชัดเจนนี้ทำให้การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดข้อมูลที่สำคัญไม่แม่นยำอย่างที่ควรจะเป็น จนนำไปสู่ผลกระทบที่ร้ายแรงต่อผู้ป่วย ตั้งแต่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ รักษาไม่ทันท่วงที จนอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้


7. สร้างความยุ่งยากในกระบวนการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

การเขียนเอกสารทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น ใบรับรองแพทย์ แบบฟอร์มการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น ด้วยลายมือที่อ่านยาก อาจทำให้เกิดความยุ่งยากและล่าช้าในการดำเนินการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากทั้งภาครัฐและเอกชน


เพราะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนี้ต้องเสียเวลาตีความข้อมูล และอาจนำเข้าข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจน โดยเฉพาะรหัสโรคและหัตถการ (ICD-10) ส่งผลให้เกิดผลกระทบในการเรียกเก็บเงินและเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่อาจนำไปสู่การปฏิเสธการเรียกร้องหรือความล่าช้าในการคืนเงิน


8. เกิดข้อร้องเรียนหรือปัญหาทางด้านกฎหมายหรือกฎระเบียบ

ด้วยเหตุผลทั้งหมดทั้งมวลนี้ อาจทำให้ทั้งตัวบุคลากรทางการแพทย์ผู้เขียนด้วยลายมือที่อ่านยาก รวมถึงเพื่อนร่วมงานที่ถอดรหัสตีความลายมือนี้ได้รับผลกระทบทางด้านกฎหมายหรือกฎระเบียบ โดยอาจถูกร้องเรียนหรือฟ้องร้องต่อศาล เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับอันตรายหรือความไม่สะดวกใด ๆ


9. กระทบต่อชื่อเสียงของโรงพยาบาล และส่งผลต่อรายได้ของโรงพยาบาล

เมื่อลายมืออ่านยากและไม่ชัดเจนเป็นเหตุให้เกิดความความผิดพลาดในการรักษา หรือคุณภาพในการรักษาลดลง จนผู้ป่วยต้องเสี่ยงได้รับอันตราย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจ


ผู้ป่วยหลาย ๆ คนจึงอาจมีการร้องเรียน หรืออาจรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้องต่อศาลเพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายเลยทีเดียว ดังนั้นโรงพยาบาลอาจจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งสำหรับการดำเนินคดีทางด้านกฎหมาย และเพื่อเยียวยาช่วยเหลือผู้ป่วยหรือครอบครัวของผู้ป่วย

นอกจากนี้ในปัจจุบันข่าวต่าง ๆ สามารถถูกเผยแพร่ออกไปในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว ทั้งจากการบอกกันปากต่อปาก ผ่านโซเชียลมีเดีย จนไปถึงการถูกนำเสนอโดยสำนักข่าวดัง นี่จึงอาจกระทบต่อชื่อเสียงที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของโรงพยาบาลอย่างรุนแรง และอาจทำให้รายได้ของโรงพยาบาลลดลงอีกด้วย


Paperless Hospital สุดยอดวิธีแก้ไขปัญหาลายมือหมออ่านยาก

หนึ่งวิธีที่สามารถแก้ไขปัญหาลายมือหมออ่านยากได้อย่างถาวรคือการเปลี่ยนโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลไร้กระดาษหรือ Paperless Hospital ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการเขียนด้วยลายมืออีกต่อไปนั่นเอง แล้วเราจะทำได้อย่างไร ตามมาดูต่อกันข้างล่างนี้เลย!


3 วิธีเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลให้กลายเป็น Paperless Hospital เพื่อแก้ไขปัญหาลายมือหมออ่านยาก


1. นำระบบสารสนเทศโรงพยาบาลหรือ Hospital Information System (HIS) เข้ามาใช้งาน

เพราะการมีระบบ HIS ช่วยปลดล็อกความสามารถในการบันทึกและเก็บเอกสารต่าง ๆ ในรูปแบบออนไลน์ที่ต้องอาศัยด้วยการพิมพ์หรือกดเลือกตัวเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบ


ดังนั้นทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นเพื่อนร่วมงานหรือผู้ป่วยต่างก็ไม่จำเป็นต้องมาคอยถอดรหัสชวนงงงวยนี้อีกต่อไป ความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นจากลายมือยึกยืออ่านยากจึงลดลงไปด้วยนั่นเอง


2. ใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Records : EMR) แทนการใช้เวชระเบียนกระดาษ

การใช้เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์แทนเวชระเบียนกระดาษ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ลดการพึ่งพาเอกสารที่เขียนด้วยลายมือ ผลลัพธ์ปลายทางจึงช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีต้นเหตุมาจากการเขียนด้วยลายมือที่อ่านยาก


ทุกคนสามารถอ่านออกได้ง่าย ๆ และเข้าใจถูกต้อง ทำให้กระบวนการการรักษาทั้งหมดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยปรับปรุงความปลอดภัยโดยรวมของผู้ป่วยอีกด้วย


3. ใช้เอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

ในแต่ละวัน บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจำเป็นต้องออกเอกสารต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นใบรับรองแพทย์ การบันทึกทางการพยาบาล และอื่น ๆ อีกมากมาย หากเราสามารถเปลี่ยนเอกสารเหล่านี้จากเอกสารกระดาษให้ไปอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทน ก็จะถือเป็นการตัดปัญหาลายมืออ่านยากไปได้


นอกจากนี้ยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ ประหยัดต้นทุนของโรงพยาบาลได้เป็นอย่างมาก แถมยังเป็นการสนับสนุนการทำงานและให้บริการแบบดิจิทัลตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ป่วยในปัจจุบันอีกด้วย


ระบบ Paperless ช่วยขจัดปัญหาที่เกิดจากลายมือหมออ่านยากได้อย่างไร?

ทั้ง 3 วิธีข้างต้นจะทำให้กระบวนการทำงานระหว่างโรงพยาบาลที่เป็น Paperless Hospital และโรงพยาบาลที่ไม่ได้เป็น Paperless Hospital แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง MEDcury ได้ทำรูปภาพนี้ขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบให้ทุกคนเห็นภาพกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น มาดูกันเลย


กระบวนการทำงานของโรงพยาบาลระหว่างการทำงานที่ไม่ใช่ paperless hospital หรือโรงพยาบาลที่ใช้กระดาษ และการทำงานที่เป็น paperless hospital หรือโรงพยาบาลไร้กระดาษ

เป็นอย่างไรกันบ้าง เห็นแล้วใช่ไหมว่าสุดท้ายแล้วการเปลี่ยนโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลไร้กระดาษหรือ Paperless Hospital จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กระบวนการรักษา ซึ่งส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงานได้อย่างแฮปปี้ ผู้ป่วยเองก็ได้ประโยชน์ นอกจากนี้โรงพยาบาลยังสามารถลดการใช้ทรัพยากรได้อีกมหาศาลเลยอีกด้วย


MEDHIS และ MEDHIS Lite ตัวช่วยเด็ด เคล็ดลับขจัดลายมือหมออ่านยาก


ในสภาพแวดล้อมทางการแพทย์ที่ยุ่งวุ่นวาย การสื่อสารที่ชัดเจนถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าเราถ่ายทอดข้อมูลที่สำคัญได้อย่างถูกต้องแม่นยำ MEDHIS และ MEDHIS Lite ถือเป็นตัวช่วยหนึ่งที่พร้อมช่วยคุณเพิ่มศักยภาพในการบันทึกและส่งต่อข้อมูลโดยไม่ต้องพึ่งพาการเขียนด้วยลายมือหรือการใช้เอกสารกระดาษ


MEDHIS คือระบบสารสนเทศโรงพยาบาล มาพร้อมโมดูลที่ครบครันให้กับโรงพยาบาลในยุค Digital

MEDHIS และ MEDHIS Lite คือระบบ HIS จาก MEDcury ซึ่งเป็น HIS On-Cloud ในรูปแบบ Web-based ที่มาพร้อมกับเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์หรือ EMR เมนูสั่งจ่ายยา เมนูส่งต่อผู้ป่วยระหว่างแผนก เมนูการเงินและบัญชี


บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจึงสามารถทำทุกอย่างได้ผ่านระบบออนไลน์แบบ Real-Time ทำให้การประสานงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและไร้รอยต่อภายใต้การปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดต่าง ๆ อย่างเข้มงวด พร้อมความปลอดภัยระดับสากล


ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจึงสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมส่งมอบบริการที่มีคุณภาพให้แก่ผู้ป่วย ส่วนผู้ป่วยเองก็สามารถใช้บริการได้อย่างปลอดภัยและสบายใจ


นอกจากนี้ยังช่วยโรงพยาบาลลดการใช้ทรัพยากรและต้นทุน และเป็นการสนับสนุนให้โรงพยาบาลมีสิทธิ์ได้รับมาตรฐาน EMRAM จาก HIMSS (Healthcare Information and Management Systems Society) อีกด้วย


สนใจนำ MEDHIS หรือ MEDHIS Lite เข้ามาใช้ในองค์กร?

ที่ MEDcury เราพร้อมให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ สามารถพูดคุยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDHIS กับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่


  • โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)

  • อีเมล : sales@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มคลิกที่นี่


ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น


bottom of page