top of page

อนาคตของ Telemedicine: แนวทางและโอกาสใหม่หลังโควิด-19

อนาคตของ Telemedicine: แนวทางและโอกาสใหม่หลังโควิด-19

Telemedicine กลายเป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ จนคุ้นหูในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่อย่างโควิด-19 ที่ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งหันมาหนุนนำบริการทางการแพทย์ในรูปแบบใหม่นี้มาใช้ในการรักษา เพื่อสอดรับกับความปกติใหม่ (New Normal) ที่เกิดขึ้น แต่ก็มีคำถามที่น่าสนใจว่า Telemedicine จะเป็นอย่างไรต่อไปในยุคหลังโควิด-19 เราจะมาเล่าให้ฟัง


Telemedicine คืออะไร


Telemedicine หรือโทรเวชกรรม คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพูดคุยเพื่อรับคำปรึกษาและการวินิจฉัยจากแพทย์ผ่านระบบ VDO Conference บนแอปพลิเคชันได้แบบ Real-Time


COVID-19 ตัวเร่งเทรนด์ Telemedicine


สถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น มาตรการล็อกดาวน์ การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนนำมาสู่ความแออัดในโรงพยาบาล เป็นต้น


สิ่งเหล่านี้ล้วนถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่ทำให้ Telemedicine กลายเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้น และเข้ามามีบทบาทในชีวิตคนเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ Telemedicine เป็นทางเลือกใหม่ในการรับบริการทางการแพทย์ที่ไร้ข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ ซึ่งตอบโจทย์กับวิกฤตครั้งนี้มากที่สุด


โดยผลสำรวจประเมินมูลค่าตลาดโลกของ Telemedicine ของ BIS Research พบว่าในปี 2019 ตลาดนี้มีมูลค่า 2.16 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์ว่าในปี 2026 มูลค่าตลาดนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 6.53 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 12.7% โดยเฉพาะตลาดเอเชีย-แปซิฟิกที่มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นมากที่สุด ทั้งนี้มูลค่าตลาด Telemedicine ของประเทศไทยก็เติบโตสอดคล้องกับเทรนด์ของตลาดโลกเช่นกัน

Next Normal ของ Telemedicine หลังวิกฤต COVID-19


หลาย ๆ ท่านคงสงสัยกันว่าในเมื่อ Telemedicine บูมขึ้นมาได้เพราะโควิด แล้วอนาคตหลังจบโควิดแล้ว Telemedicine จะยังสามารถไปต่อได้หรือไม่ MEDcury ขอยกผลสำรวจจาก Mckinsey มาอ้างอิง


ผลสำรวจนี้ได้ชี้ว่าจำนวนผู้ใช้งาน Telemedicine ในสหรัฐฯ นั้นพุ่งสูงขึ้นถึง 38 เท่าในช่วงโควิด-19 แต่ก็สามารถทรงตัวในระดับดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–19 ได้แล้ว นอกจากนี้ผลการสำรวจยังได้ระบุว่าแพทย์และคนไข้มีระดับความพึงพอใจจากการใช้งาน Telemedicine ที่สูงถึง 64% และ 74% ตามลำดับ และมีแนวโน้มที่จะใช้บริการแพลตฟอร์มดังกล่าวต่อไปในอนาคต ข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมในการใช้ Telemedicine ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวร

อย่างไรก็ตามการให้บริการ Telemedicine คงไม่ได้มาทดแทนการพบแพทย์ในรูปแบบเดิมซะทีเดียว เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในหลายด้าน เช่น

  • ความไม่คุ้นเคยของแพทย์ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้คำปรึกษาออนไลน์

  • ความจำเป็นในการใช้เครื่องมือ หรือหัตถการ หรือตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ

  • ระบบโทรคมนาคมที่ยังไม่ครอบคลุม


แต่การมี Telemedicine จะช่วยเสริมศักยภาพในการรักษาพยาบาลได้ โดยเฉพาะในการแพทย์บางสาขาที่ไม่จำเป็นต้องทำหัตถการ เช่น ผิวหนัง จิตเวช เป็นต้น รวมไปถึงการติดตามอาการ หรือติดตามผลตรวจ ผู้ป่วยจึงไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางมาโรงพยาบาล เพียงแค่ใช้ Telemedicine ก็สามารถรับคำปรึกษาหรือผลตรวจต่าง ๆ ผ่านทางออนไลน์ และซื้อยาตามใบสั่งยาจากแพทย์หรือรอรับยาที่บ้านได้เลย


ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ทั่วถึงมากขึ้น และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการเดินทางได้ รวมทั้งยังช่วย​​ลดปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลอีกด้วย


นอกจากนี้เราสามารถขยายขอบเขตของบริการ Telemedicine ให้เป็นมากกว่าแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ยกตัวอย่างเช่น “ตู้ One Minute Clinic” ของ Ping An Good Doctor ที่ให้บริการแล้วทั่วทั้ง 8 มณฑลในประเทศจีน โดยตู้ให้บริการ Telemedicine นี้สามารถให้คำปรึกษาและตอบคำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับโรคทั่วไปถึง 2,000 โรค


โดยใช้ AI วินิจฉัยด้วยการวัดชีพจรและสอบถามข้อมูลต่าง ๆ พร้อมทั้งมีการจ่ายยาแก่ผู้ป่วย โดยมียากว่าร้อยชนิดให้บริการ หากไม่พบยาที่ต้องการ ผู้ป่วยก็สามารถสั่งจากแอปพลิเคชันเพื่อขอรับยาที่คลินิกใกล้บ้านหรือจัดส่งถึงบ้านภายใน 1 ชั่วโมง และตู้คลินิกนี้ยังมีการเก็บประวัติของผู้ป่วยเพื่อใช้ในการรักษา โดยเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับระบบ Health Information System (HIS) ของคลินิกและโรงพยาบาลมากกว่า 3,000 แห่ง เพื่อส่งต่อผู้ป่วยในกรณีที่ประเมินว่าเป็นโรคร้ายแรงอีกด้วย


สำหรับใครที่อยากพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพ สามารถพูดคุยกับพวกเรา MEDcury ได้ที่


  • โทรศัพท์ : 02-853-9131 (ในเวลาทำการ 10:00 - 18:00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์)

  • อีเมล : sales@medcury.health หรือกรอกแบบฟอร์มคลิกที่นี่


ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MEDcury จากช่องทางอื่น



อ้างอิงข้อมูลจาก



bottom of page